อังกฤษเผยรายละเอียดแผนสอดแนมทางออนไลน์

Loading

อังกฤษเผยรายละเอียดแผนสอดแนมทางออนไลน์ เตรียมออกกฎหมายสั่งเก็บข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตของชาวบ้านได้นาน 1 ปี รัฐบาลอังกฤษเผยแพร่แผนยกเครื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอดแนมทางออนไลน์ โดยกำหนดแนวทางให้ตำรวจและหน่วยงานด้านความมั่นคงสามารถเข้าดูรายละเอียดการสื่อสารทางออนไลน์ของประชาชนได้ และบริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตจะต้องจัดเก็บข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตของลูกค้าไว้เป็นเวลา 1 ปี นางเทเรซา เมย์ รมว.มหาดไทยอังกฤษ เปิดเผยว่าข้อเสนอตามแผนดังกล่าวซึ่งจะบรรจุอยู่ในร่างกฎหมายว่าด้วยอำนาจในทางสืบสวน (Investigatory Powers Bill) ที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและสภาขุนนาง ได้กำหนดให้ตำรวจและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงสามารถดูรายชื่อเว็บไซต์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเปิดดูได้ โดยไม่จำเป็นต้องคำสั่งจากศาล อย่างไรก็ดี จะมีมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้หน่วยงานความมั่นคงและหน่วยข่าวกรองสอดแนมดูรายละเอียดเนื้อหาการใช้อินเทอร์เน็ตของประชาชนได้ทั้งหมด นางเมย์ กล่าวต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรว่าเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องมีอำนาจตามที่เสนอดังกล่าวเพื่อป้องกันอาชญากรรมและปราบปรามการก่อการร้าย นอกจากนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวยังกำหนดรายละเอียดที่เป็นข้อเสนออื่น ๆ รวมทั้งวิธีการที่รัฐจะสามารถเจาะเข้าไปยังอุปกรณ์และจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากที่เคลื่อนไหวอยู่บนอินเทอร์เน็ตได้ อันเป็นการให้อำนาจทางกฎหมายแก่ศูนย์บัญชาการการสื่อสารของรัฐบาลอังกฤษ (GCHQ) ซึ่งเคยกระทำดังกล่าวโดยไม่เปิดเผยมาแล้ว เช่นที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เคยออกมาระบุ ร่างกฎหมายดังกล่าวยังกำหนดด้วยว่าเป็นหน้าที่ตามกฎหมายที่บริษัทของอังกฤษจะต้องให้ความช่วยเหลือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายให้เจาะเข้าไปยังอุปกรณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ หากสามารถทำได้ในทางปฏิบัติ ให้อำนาจคณะผู้พิพากษาในการยับยั้งการสอดแนมข้อมูลโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย กำหนดบทลงโทษทางอาญาโดยมีโทษจำคุกสูงสุด 2 ปีแก่ผู้ที่ได้รับข้อมูลการสื่อสารจากผู้ให้บริการโทรคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยล่วงรู้หรือเลินเล่อ สงวนอำนาจการสืบสวนบางประการให้เทศบาลท้องถิ่น เช่น ตรวจสอบการโกงการรับสวัสดิการ แต่เทศบาลท้องถิ่นจะไม่มีอำนาจเข้าถึงข้อมูลทางออนไลน์ที่บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจัดเก็บไว้ ตำรวจจะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งข่าวของสื่อได้โดยปราศจากคำสั่งของผู้พิพากษา เป็นต้น ด้านชามี จักราบาร์ตี ผู้อำนวยการกลุ่มรณรงค์เพื่อสิทธิพลเมือง Liberty กล่าวว่าร่างกฎหมายดังกล่าวถือได้ว่ารุกรานความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตของคนทุกคนในอังกฤษ นับจากนี้คงต้องจับตาดูท่าทีของสภาว่าจะดำเนินการอย่างไรในการสร้างความสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวและการสอดแนม ขณะที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ได้โพสต์ข้อความทางทวิตเตอร์ ว่า…

สโนว์เดนเผย รัฐบาลอังกฤษสอดแนมข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟน

Loading

นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าที่สัญญาจ้างของซีไอเอซึ่งกำลังลี้ภัยอยู่ในรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับรายการพานอรามาของบีบีซีถึงเรื่องการสอดแนมข้อมูลว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงของอังกฤษสามารถดักฟังข้อความจากโทรศัพท์มือถือ โดยที่ผู้ใช้เองไม่รู้ตัวและไม่สามารถทำอะไรได้ ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ทีมงานของรายการต้องใช้เวลาร่วม 3 เดือนในการนัดหมาย โดยสื่อสารกันผ่านแอปพลิเคชันเข้ารหัส จากนั้นทีมงานได้รับข้อความให้ไปเปิดห้องที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงมอสโกและติดต่อนายสโนว์เดนเพื่อบอกเบอร์ห้องให้เขามาพบ นายสโนว์เดนบอกว่า ทุกวันนี้มีการสอดแนมข้อมูลของคนทั่วไปผ่านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่ผู้ถูกสอดแนมไม่ได้ทำอะไรผิด และไม่มีทางรู้ตัวเลยว่ากำลังถูกสอดแนมอยู่ ประเด็นหนึ่งที่เขารู้สึกกังวลคือ การที่ศูนย์บัญชาการการสื่อสารของรัฐบาลอังกฤษ (GCHQ) ซึ่งเป็นหูเป็นตาของทางการ สามารถเจาะระบบเพื่อล้วงข้อมูลบนสมาร์ทโฟนได้ โดยใช้ระบบที่เรียกว่า CNE (Computer Network Exploitation) เขาบอกความลับเรื่องโครงการฝึกอบรมการล้วงข้อมูลโดยรัฐบาล ภายใต้ชื่อรหัสโครงการว่า “สเมิร์ฟ”ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนชื่อดังของนักเขียนชาวเบลเยียม     เทคนิคที่ใช้ในโครงการสเมิร์ฟนี้ทำได้หลายอย่าง เช่น “สเมิร์ฟช่างฝัน” (Dreamy Smurf) สามารถสั่งเปิดปิดโทรศัพท์มือถือของเราได้แม้แต่ตอนที่เครื่องปิดอยู่ “สเมิร์ฟจอมจุ้น” (Nosy Smurf) จะสั่งเปิดไมโครโฟนและบันทึกเสียงทุกอย่างรอบ ๆ ตัวได้โดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว ส่วน “สเมิร์ฟนักแกะรอย” (Tracker Smurf) สามารถระบุตำแหน่งผู้ใช้และแอบติดตามตำแหน่งที่อยู่ได้ นอกจากนี้ นายสโนว์เดนยังระบุถึงการที่ GCHQ แอบล้วงข้อมูลจำนวนมากจากการสื่อสารภายในปากีสถาน ซึ่งคาดว่าเพื่อแกะรอยผู้ก่อการร้าย โดยใช้วิธีเจาะเข้ากล่องชุมทางสัญญาณข้อมูลดิจิตอลของบริษัทซิสโกของสหรัฐฯ ซึ่งปฏิบัติการนี้มีขึ้นโดยที่บริษัทซิสโกเองก็ไม่รู้ตัว เรื่องนี้รัฐบาลอังกฤษได้ส่งสัญญาณอนุญาตให้ดำเนินการในทางลับ…