Grayware คืออะไร ? อาจไม่อันตราย ไม่ใช่มัลแวร์ แต่โดนแล้วว้าวุ่นนะจ๊ะ

Loading

คำว่า Grayware (หรือ Greyware) อาจเป็นคำที่ไม่คุ้นหูชาวไทยเรากันมากนัก นิยามของตัวมันเองอาจไม่ใช่มัลแวร์ (Malware) โดยตรง โดยคำว่า Grayware จะใช้เมื่อเราเอ่ยถึงกลุ่มซอฟต์แวร์ที่อยู่ระหว่างความเป็นมัลแวร์ กับซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฏหมาย คือพฤติกรรมของมันอาจไม่ได้อันตรายถึงขึ้นที่จะเป็นมัลแวร์ แต่มันก็สามารถสร้างความรำคาญ หรือทำอะไรบางอย่างที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการ

‘มัลแวร์’ ระบาด! โจมตีธุรกิจ SMB – รู้จัก ‘สมิชชิ่ง (smishing) จอมแฮ็กสมาร์ตโฟน

Loading

มัลแวร์ จอมป่วน ไม่แผ่ว!! แคสเปอร์สกี้ เผยครึ่งแรกปี 2566 ‘บล็อกมัลแวร์’ หรือซอฟต์แวร์ไม่พึงประสงค์จำนวน 2,375 รายการที่มีเป้าหมายโจมตีธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางหรือ SMB ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 257.68% รู้จัก “สมิชชิ่ง” (smishing) จอมแฮ็กสมาร์ตโฟน!!

เปิด ‘ความเสี่ยงไซเบอร์’ องค์กรไทย หวั่น ‘มัลแวร์-แฮ็กบัญชี’ โจมตีหนัก

Loading

  ‘พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์’ เปิดรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงาน ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา “การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุดมีองค์กร 22% ขณะที่องค์กรไทยหนักใจ “มัลแวร์” มากสุด   พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์’ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ เปิดรายงานสถานการณ์ระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ในอาเซียนปี 2566 ข้อมูลในรายงาน ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบปัญหา “การโจมตีที่สร้างความเสียหายอย่างหนัก” ในปริมาณน้อยที่สุดมีองค์กร 22% ที่พบจำนวนอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นมากกว่า 50% เมื่อเทียบอดีต   ทั้งนี้ การปกป้องเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) โดยเฉพาะระบบที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญยังคงเป็นข้อกังวลหลัก เพราะบริการพื้นฐานสำคัญเหล่านั้นต้องเผชิญกับการโจมตีที่สร้างความเสียหายในระดับที่สูงกว่าภาคส่วนอื่น ๆ     ข้อกังวลอันดับต้น ๆ องค์กรไทย   ขณะที่ ประเภทการโจมตีที่องค์กรในไทยมีความกังวลมากที่สุด ได้แก่ มัลแวร์ 57% และการเข้าควบคุมบัญชีผู้ใช้ 57% และการโจมตีรหัสผ่าน 53% ซึ่งภายใต้สถานการณ์ที่ต้องพึ่งพาบริการและแอปพลิเคชันระบบคลาวด์มากขึ้น ธุรกิจในไทยระบุว่า…

อีคอมเมิร์ซแอป เป้าหมายใหม่ การโจมตีทางไซเบอร์ (จบ)

Loading

ภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซมีหลากหลายรูปแบบ อย่างเช่น ฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นการโจมตีที่หลอกล่อให้เหยื่อคลิกลิงก์ไปยังเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เป็นอันตราย โดยการส่งอีเมลหรือข้อความที่ทำให้ดูเหมือนส่งจากแหล่งที่เชื่อถือได้

มือถือถูกติดตาม ถูกสะกดรอยหรือไม่ กับ 8 สัญญาณมือถือคุณอาจถูกติดตามโดยคนอื่นที่คุณต้องระวัง

Loading

มือถือถูกติดตาม ถูกสะกดรอยหรือไม่ นี่คือสิ่งที่ควรรู้และสังเกตมือถือคุณ แฮ็กเกอร์สามารถติดตามโทรศัพท์ของคุณได้อย่างง่ายดายโดยที่คุณไม่รู้ตัว ทั้งนี้ มือถือคุณและอุปกรณ์ต่าง ๆ ซอฟต์แวร์ และแอปเกือบทั้งหมดจะมีส่วนประกอบในการตรวจสอบและติดตามอยู่ภายใน

อีคอมเมิร์ซแอป เป้าหมายใหม่ การโจมตีทางไซเบอร์ (1)

Loading

  ในปี 2566 แนวโน้มทิศทางการโจมตีทางไซเบอร์บนแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ตกเป็นเป้าหมายหลักเลยก็ว่าได้   เนื่องจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซกลายเป็น Omnichannel เพิ่มเรื่อย ๆ และมีการสร้างและปรับใช้อินเทอร์เฟซ API มากขึ้น โดยแฮ็กเกอร์จะใช้ประโยชน์จากการหาช่องโหว่ต่าง ๆ เพื่อเปิดการโจมตี   นี่คือเหตุผลว่าทำไมการทดสอบและการหมั่นตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญมากในการช่วยหาจุดอ่อนให้ได้อย่างรวดเร็วและเป็นการป้องกันเว็บแอปพลิเคชันอย่างมีประสิทธิภาพ   วันนี้ผมจึงอยากหยิบยกเรื่องการโจมตีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Honda มาพูดถึงว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อธุรกิจและกลุ่มลูกค้า   การโจมตีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของฮอนด้าที่จัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตัดหญ้า เครื่องยนต์ติดท้ายเรือ เป็นต้น ได้เกิดข้อผิดพลาดของ API ที่ทำให้ไม่ว่าจะใครก็สามารถขอรีเซ็ตรหัสผ่านของบัญชีผู้ใช้งานใดก็ได้   หากแฮ็กเกอร์ค้นพบสิ่งนี้ได้ แน่นอนว่าจะเป็นการละเมิดข้อมูลครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพราะการสูญเสียการควบคุมในการเข้าถึงทำให้บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดบนแพลตฟอร์มได้ แม้ว่าจะเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีสำหรับใช้ทดสอบ (Test Account) ก็ตาม โดยผู้ทดสอบสามารถเข้าถึงข้อมูลต่อไปนี้ได้ทั้งหมด   คำสั่งซื้อของลูกค้าเกือบ 24,000 รายจากตัวแทนจำหน่ายฮอนด้าทุกแห่งตั้งแต่ ส.ค. 2559 ถึง มี.ค. 2566 รวมถึงชื่อที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้า เว็บไซต์ตัวแทนจำหน่ายที่ใช้งานอยู่ 1,091 แห่งซึ่งสามารถแก้ไขไซต์เหล่านี้ได้, ผู้ใช้งาน/บัญชีตัวแทนจำหน่าย…