19 ก.ค. 1947 นายพลออง ซาน บิดาแห่งเอกราช วีรบุรุษของพม่า ถูกลอบสังหาร

Loading

  นายพลออง ซาน หรืออู อองซาน เกิดเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1915 ที่เมืองนัตเม่าก์ บิดาคืออูเผ่า เป็นทนายความ มารดาชื่อด่อซู ผู้เป็นปู่คือ โบมีงยอง เป็นนักต่อสู้ที่รักชาติและเคยต่อต้านเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษ นายพลออง ซาน จึงได้สืบทอดมรดกทางจิตใจคือความรักชาติและเป็นนักต่อสู้มาจากคุณปู่   นายพลออง ซานเป็นผู้ที่มีมนุษยสัมพันธ์กับคนทุกคนอย่างเสมอภาค และคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของเขา คือ การเคารพในความถูกต้อง ไม่กล่าวเท็จและยึดมั่นในคุณธรรม เป็นคนที่ไม่หลงใหลในลาภยศหรือเงินทอง นายพลเป็นคนที่พูดจาเด็ดขาด การทำงานก็ตรงไปตรงมา และได้เป็นผู้นำการต่อสู้กับอังกฤษเพื่อเอกราชของพม่า โดยได้เป็นผู้นำของ “สมาคมชาวเราพม่า” หรือ “พรรคตะขิ่น” (thakin) โดยมีจุดประสงค์คือ การต่อต้านเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษและความต้องการเอกราชทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ   เมื่อพม่าถูกอังกฤษยึดเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ ใน ค.ศ. 1855 อังกฤษได้ปกครองพม่าโดยตรง และได้ยกเลิกระบบการปกครองเดิมของพม่า สถาบันที่เคยเป็นศูนย์กลางอำนาจเดิมคือสถาบันกษัตริย์ที่รุ่งเรืองมาในประวัติศาสตร์อันยาวนานของพม่า และยังเป็นสถาบันรักษาศิลปวัฒนธรรมและศาสนาสิ้นสุดลง การปกครองระยะเริ่มแรกคือระหว่างปี 1886-1925 อังกฤษได้ให้พม่าเป็นมณฑลหนึ่งของอินเดีย ยกเลิกการปกครองในหมู่บ้านแบบเก่า จากเดิมที่เคยผูกขาดโดยชนชั้นสูงในหมู่บ้าน ด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าหมู่บ้านแบบหมุนเวียนกัน นำระบบเทศบาลเข้ามาใช้ตามเมืองใหญ่ๆ ทางตอนล่างของพม่า…

จากยูเครนถึงพม่า! Free Burma Rangers ขอบคุณอีลอน มัสก์ ปล่อยสัญญาณเน็ต “สตาร์ลิงก์” ให้กองกำลังติดอาวุธรัฐกะยา

Loading

การใช้อินเทอร์เน็ตในป่ารัฐกะยาของกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (ภาพจาก Kantarawaddy Times)   ชัดแล้วแสงบนท้องฟ้าที่มองเห็นในภาคเหนือของไทยเมื่อต้นเดือนมิถุนายน เป็นกลุ่มดาวเทียมสตาร์ลิงก์ของสเปซเอ็กซ์ที่เคลื่อนตัวเข้าไปปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตให้กองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้านที่กำลังรบหนักอยู่กับกองทัพพม่า ผบ. Free Burma Rangers ทวีตขอบคุณอีลอน มัสก์ ที่ช่วยให้การทำงานในรัฐกะยาสะดวกขึ้น   สำนักข่าว Kantarawaddy Times รายงานว่า เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 เดวิด ยูแบงก์ ผู้อำนวยการ Free Burma Rangers กลุ่ม NGO จากสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าไปเคลื่อนไหวอยู่ในรัฐกะยา (กะเหรี่ยงแดง) ของพม่า ได้ทวีตข้อความขอบคุณอีลอน มัสก์ ผู้ก่อตั้งสเปซเอ็กซ์ และโครงการสตาร์ลิงก์ ที่ช่วยให้ในรัฐกะยามีสัญญาณอินเทอร์เน็ตใช้ ทำให้การทำงานในพื้นที่ของพวกเขาสะดวกขึ้น   สตาร์ลิงก์เป็นโครงข่ายอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ผ่านดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนมากที่โคจรอยู่รอบโลก ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยบริษัทสเปซเอ็กซ์ เพื่อให้ทุกพื้นที่ทั่วโลกสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้ โดยปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมให้พื้นที่ห่างไกลที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตประเภทอื่นไม่สามารถเข้าถึง   รัฐกะยาอยู่ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ชายแดนด้านตะวันตกของประเทศไทย เป็นพื้นที่หนึ่งซึ่งขณะนี้กำลังมีการสู้รบอย่างรุนแรงระหว่างกองกำลังติดอาวุธฝ่ายต่อต้าน (PDF) กับกองทัพพม่า และกลยุทธ์หนึ่งที่กองทัพพม่านำมาใช้ คือการตัดการสื่อสาร โดยไม่ปล่อยสัญญาณอินเทอร์เน็ตในพื้นที่รัฐกะยา รวมถึงอีกหลายรัฐที่มีการเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพพม่า…

รู้จัก ‘ตำรวจลับ’ รัฐบาลทหารพม่า เครื่องมืออำมหิตที่ใช้ปราบฝ่ายประชาธิปไตย

Loading

  บทความในอิรวดีพูดถึงบทบาท ‘ตำรวจลับ’ ของเผด็จการพม่าที่ใช้สอดแนม-ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และล่าสุดยุครัฐบาลทหารมินอ่องหล่าย นอกจากเครือข่ายที่ใช้จับตาความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านเผด็จการพลัดถิ่นที่อยู่ในไทยแล้ว ยังพบว่าผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและปฏิรูปการเมืองช่วงรัฐบาลเต็งเส่ง ก็ยังกลายเป็นผู้ให้ข้อมูลกับตำรวจลับพม่าอีกด้วย   เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสที่เชี่ยวชาญประเด็นพม่าเขียนบทความเผยแพร่ในอิรวดี เมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา พูดถึงการที่เผด็จการพม่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการใช้ “ตำรวจลับ” เพื่อคอยสอดแนมและปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งในประนอกประเทศ รวมถึงมีตำรวจลับเหล่านี้ในประเทศไทยด้วย แต่เผด็จการในยุคต่างๆ ก็มีการกวาดล้างเหล่าตำรวจลับพวกนี้เองและตั้งหน่วยใหม่ในชื่อใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ยุคของเนวิน มาจนถึงเผด็จการมินอ่องหล่ายในปัจจุบัน   โดยเผด็จการเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องมี “ตำรวจลับ” เอาไว้ใช้งานเพื่อที่จะคงอยู่ในอำนาจได้ และยิ่งตำรวจลับเหล่านี้ มีความโหดเหี้ยมอำมหิตมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลดีกับพวกเขามากขึ้นเท่านั้น พวกนาซีเคยมีตำรวจลับชื่อหน่วยเกสตาโป ชาห์แห่งอิหร่านเคยอาศัยหน่วยซาวัคเป็นตำรวจลับและหน่วยข่าวกรอง เผด็จการแห่งโรมาเนีย นิโคแล โจเชสกู มี “กรมความมั่นคงแห่งรัฐ” ส่วนนายพลพม่านั้นมีหน่วยข่าวกรองของตนเอง ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหลายชื่อในช่วงเวลาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นเสาหลักทางอำนาจให้กับรัฐเผด็จการทหาร   แต่ด้วยความที่ว่า หน่วยตำรวจลับของพม่านั้นมีลักษณะปกปิดเป็นความลับ ทำให้มีอยู่อย่างน้อยสองครั้งที่หน่วยงานข่าวกรองกองทัพพม่าเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบรัฐซ้อนรัฐ ซึ่งกลายเป็นภัยต่อระเบียบรัฐแบบดั้งเดิม ทำให้มีการกวาดล้างผู้นำของตำรวจลับบางส่วนโดยมีการลงโทษคุมขังพวกเขาเป็นเวลายาวนาน   เรื่องนี้ทำให้ผู้นำเผด็จการพม่าเริ่มหันมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจลับมีความจงรักภักดีต่อพวกเขาโดยไม่ตั้งคำถามใดๆ นั่นกลายเป็นสาเหตุที่มินอ่องหล่าย ผู้นำระดับสูงของกองทัพและผู้นำเผด็จการทหารยุคปัจจุบัน ได้ให้ผู้นำระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเผด็จการคนก่อนๆ   พล.ท.เยวินอู ผู้ที่เป็นประธานของหน่วยงานที่ชื่อว่า สำนักงานแห่งกิจการความมั่นคงเสนาธิการทหาร…

พม่าจับมือรัสเซียตั้งศูนย์ข้อมูลนิวเคลียร์ในย่างกุ้ง เซ็น MOU กับ ผอ.ใหญ่ ROSATOM

Loading

  พิธีเซ็น MOU ระหว่างรัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพม่า กับผู้อำนวยการใหญ่ ROSATOM ต่อหน้า พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย (ภาพจาก Popular News Journal)   MGR Online – รัฐบาลทหารพม่าเอาจริง เซ็น MOU รอบที่ 3 กับ ROSATOM จากรัสเซีย เพื่อเปิดศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นในกรุงย่างกุ้ง มินอ่องหล่ายไปเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามด้วยตัวเอง   เช้าวันนี้ (6 ก.พ.) พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) และนายกรัฐมนตรีพม่า เป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างอู มิวเตงจ่อ รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับอเล็กซี ลีคาเชฟ ผู้อำนวยการใหญ่ ROSATOM หน่วยงานด้านพลังงานปรมาณู ของรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซีย เพื่อร่วมกันจัดตั้งศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ขึ้นในกรุงย่างกุ้ง   พิธีเซ็น MOU จัดขึ้นที่กรุงย่างกุ้ง โดยเอกสาร MOU ได้ถูกจัดพิมพ์เป็น…

บังกลาเทศไม่ใช่ศัตรู แต่ก็ไม่ใช่มิตรสำหรับพม่า

Loading

  พม่ามีพรมแดนที่ติดกับบังกลาเทศยาว 271 กิโลเมตร แม้จะเป็นพรมแดนที่สั้น เมื่อเทียบกับเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าที่ยาวกว่า 2,400 กิโลเมตร แต่บังกลาเทศก็มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับพม่า โดยเฉพาะในทางภูมิรัฐศาสตร์ เพราะบังกลาเทศมีชายแดนทางตอนเหนือใกล้กับเนปาล ภูฏาน และอินเดีย และทั้งสองประเทศยังเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งอ่าวเบงกอล หรือ The Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation (BIMSTEC)   เรียกได้ว่าบังกลาเทศเป็นตัวเชื่อมระหว่างอาเซียนทั้งภูมิภาคกับเอเชียใต้ทั้งหมด และที่ผ่านมาบังกลาเทศก็พยายามเข้าหาพม่า อาเซียน และจีนมากขึ้น เพราะต้องการลดการพึ่งพาอินเดียลง เรียกว่าความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับบังกลาเทศเรียบง่าย ไม่หวือหวา ในส่วนของพม่า ต้องยอมรับว่าพม่าไม่ได้มองว่าบังกลาเทศมีความสำคัญสำหรับตนมากนัก ด้วยบังกลาเทศเป็นเพียงประเทศที่มีขนาดเล็ก เป็นประเทศกำลังพัฒนา และไม่ได้มีทรัพยากรที่พม่าต้องการเป็นพิเศษ และที่สำคัญเป็นประเทศของคน “เบงกาลี” (Bengali) ที่ถูกมองโดยสังคมพม่าพุทธว่าเป็นทั้งคนต่างชาติต่างศาสนา และยังเป็นแหล่งส่งออกประชากรชาวโรฮีนจา (คนพม่าจำนวนมากยังเรียกชาวโรฮีนจาว่า “เบงกาลี” เพราะเชื่อว่าเป็นผู้อพยพมาจากบังกลาเทศ ไม่ใช่ประชากรที่อยู่ในรัฐยะไข่มาแต่เดิม) ทำให้ทัศนคติของพม่าที่มีต่อบังกลาเทศไม่ค่อยดีนัก   ในวันที่ 4 กันยายน รัฐบาลบังกลาเทศเรียก…

ผู้บริหารยักษ์ใหญ่โทรคมนาคมพม่าถูกยิงดับกลางเมืองย่างกุ้ง

Loading

  กองทัพเมียนมาประณาม “กลุ่มก่อการร้าย” ยิงสังหารผู้บริหารระดับสูงของหนึ่งในบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งมีสายสัมพันธ์กับทหาร สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 5 พ.ย.ว่านายเต็ง อ่อง วัย 56 ปี อดีตทหารระดับสูงในกองทัพเรือเมียนมา ซึ่งผันตัวมาดำรงตำแหน่งประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน (ซีเอฟโอ) ของบริษัท “มายเทล” หนึ่งในผู้ประกอบการด้านโทรคมนาคมรายใหญ่ที่สุดของเมียนมา และกองทัพเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด ถูกลอบยิงเสียชีวิตหน้าบ้านพัก ในเมืองย่างกุ้ง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ขณะที่ภรรยาได้รับบาดเจ็บ   Thein Aung, a top executive at Myanmar’s military-affiliated Mytel Telecommunications Co., was fatally shot Thursday in Yangon. The 56-year-old former naval officer was reportedly attacked by three men on…