สหรัฐฯ หวั่นจอร์เจียหักตะวันตกเดินตามรัสเซีย ออก กม.คุมเข้มองค์กรต่างชาติ ขณะม็อบ 5 หมื่นชุมนุมกลางกรุงทบิลิซี

Loading

รอยเตอร์/เอเอฟพี – วอชิงตันออกมาแสดงความวิตก รบ.ทบิลีซีตั้งใจหักตะวันตกผลักดันกฎหมายติดหนวดแบบเครมลิน สั่งกลุ่มองค์กรอิสระที่ได้รับเงินอุดหนุนต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 20% ต้องจดทะเบียนในฐานะเอเยนต์ต่างชาติเดินตามที่มอสโกเคยออกเพื่อปิดปากสื่ออิสระภายในดินแดนหลังม่านเหล็ก หลังเสรีภาพทะลุทะลวงมีประชาชนจอร์เจียไม่ต่ำกว่า 50,000 คนวันเสาร์ (11 พ.ค.) ออกมาคัดค้านเดินขบวนมานานร่วมเดือน แสดงจุดยืนอยากเห็นจอร์เจียเป็น “ยุโรป”

สถาบันวิจัยทางทหารชี้ ความขัดแย้งลุกลามประกาศชัด โลกเผชิญ ‘ทศวรรษอันตราย’

Loading

สถาบันการศึกษายุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ (The International Institute for Strategic Studies : IISS) ในอังกฤษออกมาเตือนว่า โลกที่กำลังเผชิญกับความขัดแย้งที่กระจายไปทั่ว แสดงให้เห็นว่าเรากำลังเผชิญกับทศวรรษอันตราย

“ปูติน” เปิดใจกับนักข่าวตะวันตกครั้งแรก นับตั้งแต่เริ่มสงครามยูเครน

Loading

  ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูติน ให้สัมภาษณ์กับสื่อตะวันตกครั้งแรก นับตั้งแต่รุกรานยูเครนเมื่อปี 2022 โดยเปิดใจในหลาย ๆ เรื่อง   เรียกได้ว่าสร้างเสียงฮืออาไปทั่วโลกหลังมีการเผยแพร่คลิปวิดีโอการสัมภาษณ์ วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย โดย ทักเกอร์ คาร์ลสัน นักข่าวชาวอเมริกัน อดีตนักข่าวของ Fox News ผู้ขึ้นชื่อเรื่องการสนับสนุนทรัมป์ และเข้าข้างรัสเซียในสงครามรัสเซีย-ยูเครน   คลิปดังกล่าวเผยแพร่ผ่านทาง tuckercarlson.com ซึ่งเว็บไซต์ที่คาร์ลสันเปิดตัวหลังถูก Fox News ปลด โดยคลิปถูกถ่ายทำในวันที่ 6 ก.พ. แต่นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณะเมื่อคืนวันที่ 8 ก.พ. ที่ผ่านมา   AFP/Gavriil GRIGOROV/POOL วลาดิเมียร์ ปูติน ให้สัมภาษณ์ ทักเกอร์ คาร์ลสัน   นี่นับเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 3 ปีที่ประธานาธิบดีปูตินให้สัมภาษณืกับสื่อนอก และถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนอุบัติขึ้น โดยรัฐบาลรัสเซียให้เหตุผลว่า ที่ปูตินยอมให้คาร์ลสันสัมภาษณ์ เพราะเขา “ต่างจากสื่อตะวันตกอื่น…

สังคมโลก : การทูตกลาโหม

Loading

พล.อ.ลอยด์ ออสติน รมว.กลาโหมสหรัฐ เยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ่อยครั้ง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของสหรัฐกับประเทศพันธมิตร และหุ้นส่วนที่พึ่งพาความมั่นคงร่วมกัน กองทัพสหรัฐมี “ค่าความนิยมสำรอง” ที่น่าประหลาดใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้จะมีประวัติศาสตร์ต่อกันในสมัยสงครามเวียดนามก็ตาม

สถานการณ์ตึงเครียดบริเวณชายแดนตะวันออกของ ‘นาโต’

Loading

AFP   สถานการณ์ที่ชายแดนระหว่างโปแลนด์และเบลารุสกำลังมาถึงจุดพีค กองทหารวากเนอร์ในประเทศเพื่อนบ้าน เฮลิคอปเตอร์ของเบลารุส และผู้ลี้ภัยที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น กำลังสร้างความตื่นตระหนกให้กับรัฐบาลในกรุงวอร์ซอ   เฮลิคอปเตอร์จากเบลารุสบินต่ำเกินไปที่ระบบเรดาร์จะตรวจจับได้ แต่ผู้คนในหมู่บ้านของโปแลนด์ที่อยู่บริเวณชายแดนสามารถได้ยินเสียงกระหึ่มดังของเฮลิคอปเตอร์เหล่านั้น วอร์ซอวิจารณ์ถึงสิ่งที่มินสค์ปฏิเสธ นั่นคือ น่านฟ้าของโปแลนด์กำลังถูกละเมิด ผลลัพธ์ที่ตามมาคือ โปแลนด์ส่งกองกำลังไปที่ชายแดนมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่ครั้งแรกในฤดูร้อนนี้   นับตั้งแต่รู้ข่าวว่ากองทหารวากเนอร์เข้าไปแฝงตัวอยู่ในเบลารุส โปแลนด์ก็ระส่ำระสายแล้ว กระทรวงกลาโหมยืนยันว่าพวกเขากำลังฝึกซ้อมร่วมกับกองทัพของเบลารุส ยิ่งปรากฏมีภาพวิดีโอบันทึกการพบปะกันระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย กับอเล็กซานเดอร์ ลูกาเชงโกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม แล้วกองทหารถามเขาว่าพวกเขาสามารถเคลื่อนไปทางตะวันตกได้หรือไม่ ยิ่งทำให้โปแลนด์เกิดความกังวลหนักขึ้นอีก   นอกจากนี้ในการสนทนากัน พวกเขายังกล่าวถึงโปแลนด์ ลูกาเชงโกให้คำมั่นกับปูตินว่าจะให้กองทหารประจำการที่เบลารุส-ตามที่ตกลงกันไว้ และในตอนท้ายของประโยคมีเสียงหัวเราะของลูกาเชงโกด้วย ดูเป็นการยั่วยุที่ไม่มีใครในโปแลนด์ขำตาม กองทหารวากเนอร์มีอยู่ราว 4,000 นายในเบลารุส แต่ไม่ใช่ว่ากองทหารวากเนอร์อยู่ในบริเวณใกล้ชายแดนเท่านั้นที่ทำให้เกิดความไม่สงบ รัฐบาลโปแลนด์ยังเกรงว่ากองทหารวากเนอร์อาจช่วยผู้อพยพข้ามพรมแดนไปฝั่งโปแลนด์ด้วย ทุกวันนี้จำนวนผู้อพยพที่พยายามข้ามพรมแดนสูงถึง 16,000 คน ซึ่งมากกว่าจำนวนทั้งหมดในปี 2022   การอพยพผ่านเส้นทางที่เรียกว่า ‘Belarus Route’ ทำให้โปแลนด์ต้องหวนนึกถึงความหลังเมื่อปี 2021 ที่ผู้อพยพหลั่งไหลเข้าสหภาพยุโรปผ่านทางเบลารุส หลายคนต้องพักค้างอยู่ในป่าบริเวณชายแดนนานหลายสัปดาห์ จนกลายเป็นเหตุฉุกเฉินด้านมนุษยธรรม ตั้งแต่ครั้งนั้นแล้วที่เบลารุสตกเป็นเป้าสงสัยว่าเป็นฝ่ายช่วยลักลอบพาผู้อพยพข้ามพรมแดน วันนี้บริเวณเส้นพรมแดนปรากฏรั้วยาว…

ฟินแลนด์เป็นสมาชิกนาโตลำดับที่ 31 รัสเซียจับตา “การคุกคามด้านความมั่นคง”

Loading

    นาโตรับฟินแลนด์เข้าเป็นสมาชิกใหม่อย่างเป็นทางการ ในลำดับที่ 31 ขณะที่รัสเซียกล่าวว่า จะยกระดับการเฝ้าระวังความเคลื่อนไหวด้านความมั่นคง ตลอดแนวพรมแดนที่ติดกัน   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ว่า นายเปกกา ฮาวิสโต รมว.การต่างประเทศฟินแลนด์ ยื่นหนังสือการภาคยานุวัติ ต่อนายแอนโทนี บลิงเคน รมว.การต่างประเทศสหรัฐ โดยมี นายเยนส์ สโตลเทนเบิร์ก เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) เป็นสักขีพยาน ที่สำนักงานใหญ่ของนาโต ในกรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา   ขั้นตอนดังกล่าวเป็นขั้นตอนสุดท้ายอย่างเป็นทางการ ก่อนการเข้าเป็นสมาชิกใหม่นาโตของฟินแลนด์ ซึ่งเป็นสมาชิกลำดับที่ 31 ต่อจากนอร์ทมาซิโดเนีย หรือมาซิโดเนียเหนือ เมื่อปี 2563 โดยการที่สมาชิกใหม่ของนาโตต้องยื่นหนังสือภาคยานุวัติต่อสหรัฐ หมายถึงการยืนยันและยอมรับการผูกพันตามสนธิสัญญา หลังได้มีการจัดการตามกระบวนการภายในตามกฎหมายของประเทศตัวเองแล้ว เนื่องจากรัฐบาลวอชิงตันทำหน้าที่เก็บเอกสารเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทั้งหมด ตามกรอบของสนธิสัญญา     ขณะที่ สำนักงานใหญ่ของนาโตทำพิธีเชิญธงชาติของฟินแลนด์ขึ้นสู่ยอดเสา เมื่อพิธีการมอบหนังสือเสร็จสิ้น ด้านประธานาธิบดีเซาลี นินิสโต ผู้นำฟินแลนด์ กล่าวว่า การเข้าเป็นสมาชิกนาโต…