สำรวจสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา งัดมาตรการตอบโต้ หลังเกิดข้อพิพาท

Loading

หลังเกิดการปะทะระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชา ที่บริเวณพื้นที่ “ช่องบก” หรือ “สามเหลี่ยมมรกต” เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2568 ที่ผ่านมา จนบานปลายสู่การที่กัมพูชาพยายามลากไทยขึ้น “ศาลโลก” แทนการเจรจาในวงประชุม การประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2568 เพื่อยุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้น

ชาวบ้านพบทหารเขมรล้ำแดน 200 เมตร สอดแนมทหารไทย

Loading

นอกจากสถานการณ์ “ช่องบก” จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีเหตุปะทะกับประเทศกัมพูชาจะน่าเป็นห่วงแล้ว ฝั่ง จังหวัดตราด ก็น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน เนื่องจากผู้ใช้ TikTok รายหนึ่ง พบทหารกัมพูชา ล้ำแดนเข้ามาสอดแนมในดินแดนไทย จึงได้ทำการถ่ายคลิปไว้

คณะกรรมาธิการ JBC คืออะไร ทำไมถึงมีจุดอ่อน จนข้อพิพาทไทย-กัมพูชา ต้องพึ่งศาลโลก

Loading

พื้นที่ทับซ้อนไทยและกัมพูชาเป็นกรณีพิพาททั้งทางทะเลและทางบก ซึ่งกระแสถูกจุดจากถ้อยคำ ‘เสียดินแดน’ ของฝ่ายอนุรักษนิยมทั้งสองประเทศ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาเรื่องเขตแดนที่มีความไม่ชัดเจนจนสร้างความสับสนและกระทบกระทั่งนั้นมีอยู่จริง เกิดขึ้นมาหลายยุคสมัย มีแนวโน้มบานปลายได้เสมอ และมักมีวิกฤติทางการเมืองพ่วงมาด้วยทุกครั้ง

หลังการปะทะที่เนิน 745 ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ในพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต เมื่อ 28 พฤษภาคม 2568 ไทยและกัมพูชามีความเห็นร่วมกันว่าควรใช้กลไกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) เป็นกลไกในการเจรจาหาข้อยุติปัญหาบนแผนที่ที่ค้างคามายาวนานนับศตวรรษ โดยมีกำหนดประชุม JBC แบบทวิภาคีไว้ในวันที่ 14 มิถุนายน

ท่ามกลางกระแสชาตินิยมและอนุรักษนิยมของไทยและกัมพูชาที่ออกไปในทาง ‘ไม่ยอมเสียดินแดน’ และรุนแรงไปถึงขั้นเร่งเร้าให้ใช้กำลังทหาร ล่าสุด 5 มิถุนายน ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์ว่า ยังยืนยันจะจัดประชุม JBC ที่กำหนดจัดขึ้นที่กรุงพนมเปญเพื่อเจรจาและดำเนินการทางการทูต แต่ใจความสำคัญที่ระบุในเอกสารของกัมพูชาคือ ได้ตัดสินใจนำข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่อ่อนไหว 4 แห่ง ได้แก่ ช่องบก-สามเหลี่ยมมรกต (Mom Bei), ปราสาทตาเมือนธม (Ta Moan Thom Temple), ปราสาทตาเมือนโต๊ด (Ta Moan Tauch Temple) และปราสาทตาควาย (Ta Krabei Temple) เข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice: ICJ) หรือศาลโลกแทน

ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์จากทางกัมพูชาระบุว่า

“พื้นที่ทั้งสี่แห่งนี้ยังคงเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและมีความอ่อนไหวมาอย่างยาวนาน ซึ่งอาจนำไปสู่ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไข การตัดสินใจนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นเอกฉันท์จากการประชุมร่วมครั้งแรกของรัฐสภาและวุฒิสภาในวันเดียวกัน

“ขณะที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) นั้น รัฐบาลกัมพูชายังคงมุ่งมั่นในการเจรจาและการทูต กัมพูชาจะยังคงมีส่วนร่วมผ่านกรอบทวิภาคีที่มีอยู่ และจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ครั้งต่อไปในวันที่ 14 มิถุนายน 2568 ที่กรุงพนมเปญ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการส่งเรื่องไปยัง ICJ พื้นที่ทั้งสี่แห่งที่กล่าวมาข้างต้นจะไม่อยู่ในวาระการประชุม JBC ที่จะถึงนี้”

แถลงการณ์ของกัมพูชา

ส่วนท้ายของแถลงการณ์ระบุว่า กัมพูชาหวังว่าประเทศไทยจะให้ความร่วมมือในการนำคดีนี้ขึ้นสู่ ICJ ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้รับความร่วมมือ กัมพูชาก็พร้อมจะดำเนินการด้วยตนเอง พร้อมทั้งยังได้เรียกร้องให้ชาวกัมพูชาพิจารณาประเด็นนี้ด้วยความสงบและยับยั้งชั่งใจ และหลีกเลี่ยงการทำให้เป็นเรื่องของความรู้สึกทางชาติพันธุ์หรือชาตินิยม

เท่ากับว่า กัมพูชาประกาศไม่ยอมรับความร่วมมือแบบทวิภาคีของสองชาติที่ชื่อว่า JBC แล้วไปพึ่งศาลโลก เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

จุดเริ่มต้นสางความสับสนเขตแดนในปี 2543
ไทยและกัมพูชาลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบกเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 หรือ MOU 43 มีสาระสำคัญคือ

หลักการพื้นฐานในการกำหนดเส้นเขตแดน
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะยึดถือ สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ฉบับ 13 กุมภาพันธ์ 1904 และฉบับ 23 มีนาคม 1907 พร้อมแนบแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน หรือแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศส

การจัดตั้งกลไกการทำงาน
คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Boundary Commission: JBC) ทำหน้าที่กำกับดูแลและตัดสินใจในเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม
คณะอนุกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Sub-Committee: JTSC) ปฏิบัติงานในด้านเทคนิค สนับสนุนการทำงานของ JBC เช่น การวางแผนการสำรวจ การวิเคราะห์ข้อมูลทางเทคนิค และให้ข้อเสนอแนะต่อ JBC
ขอบเขตการดำเนินงาน
ให้ดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวชายแดนร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชา

หลักเกณฑ์ทางเทคนิคในการปักปันเขตแดน
สำหรับพื้นที่ภูเขาหรือเทือกเขา ให้ใช้สันปันน้ำ (watershed line) เป็นเกณฑ์
สำหรับพื้นที่ที่เป็นลำน้ำ ให้ใช้แนวกลางร่องน้ำลึก (median line of the deep water channel) เป็นเกณฑ์ เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันเป็นอย่างอื่นในบางกรณี
การแก้ไขปัญหาและข้อพิพาท
หากมีปัญหาหรือข้อขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการ ให้ทั้งสองฝ่ายแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีผ่านการปรึกษาหารือในกรอบของ JBC

การจัดทำเอกสารผลลัพธ์
เมื่อดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในแต่ละตอนแล้วเสร็จ จะต้องมีการจัดทำ คำอธิบายประกอบแนวเขตแดน (Description of the Boundary Line) และ แผนที่แสดงผลการปักปันเขตแดน (Demarcation Map) ที่ทั้งสองฝ่ายให้การรับรองร่วมกัน

ความร่วมมือและอำนวยความสะดวก
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกแก่กันในการปฏิบัติงานของ JBC และ JTSC รวมถึงการเข้าพื้นที่เพื่อการสำรวจ

การมีผลบังคับใช้และการแก้ไข
บันทึกความเข้าใจนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนาม
การแก้ไขใดๆ ต่อบันทึกความเข้าใจนี้จะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย

JBC คืออะไร?
‘คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม’ (JBC) เป็นความร่วมมือแบบทวิภาคี มีระดับรัฐมนตรีช่วยของแต่ละฝ่ายเป็นประธานร่วมกัน ประชุมกันปีละครั้งเพื่อรับผิดชอบการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน จัดทำแผนแม่บทในการทำงาน และกำหนดความเร่งด่วนของพื้นที่ที่จะทำการสำรวจ

หน้าที่หลักๆ ที่คาดหวังจากความร่วมมือนี้คือ พิสูจน์ตำแหน่งหลักเขตทั้ง 73 หลักที่มีอยู่แต่เดิม และให้จัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกขึ้นมาใหม่

แต่ปัญหาสำคัญคือ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจาก MOU 43 อ้างอิงแผนที่ตั้งแต่ยุคสยาม-ฝรั่งเศส ซึ่งใช้มาตราส่วน 1:200,000 เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นไทยอ้างแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร และกัมพูชาอ้างแผนที่มาตราส่วน 1:100,000 แผนที่ใหม่ทั้งสองชุดจึงไม่สอดคล้องกับ MOU 43 และไม่สามารถใช้อ้างอิงอะไรได้ จึงมีแนวโน้มอยู่แล้วว่า การดำเนินการของ JBC จะไม่ได้รับการยอมรับและไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพที่ยอมรับร่วมกันง่ายๆ

ทำไม JBC พึ่งพาไม่ได้เท่าศาลโลก?
แม้ JBC จะเป็นกลไกความร่วมมือระหว่างรัฐ แต่แค่เฉพาะไทย การปักปันเขตแดนก็เป็นเครื่องมือทางการเมืองบ่อยครั้ง JBC จึงไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างราบรื่น ตรงกันข้าม กลับกลายเป็นประเด็นการเมืองภายในประเทศที่ซับซ้อนขึ้นไปอีก เช่น เป็นเครื่องมือในการต่อสู้เชิงอุดมการณ์เกี่ยวกับอธิปไตย การยอมอ่อนข้อ การเสียดินแดน และความมั่นคง

เช่น กรณีเขาพระวิหาร ในปี 2551–2553 ขณะที่รัฐบาลไทยอยู่ระหว่างการเจรจากับกัมพูชาเพื่อจัดทำแผนการจัดการปราสาทพระวิหารร่วมกับ UNESCO ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า การเจรจาผ่าน JBC โดยไม่ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ ข้อพิพาทเรื่องเขตแดนมักเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และการรับรู้เรื่องความเป็นชาติ โดยเฉพาะไทย-กัมพูชา ที่อ้างความเป็นเจ้าของพื้นที่ผ่านประวัติศาสตร์คนละฉบับ และมีอคติแฝงฝังอยู่ในแนวคิดของแต่ละฝ่าย การเจรจาผ่าน JBC จึงไม่ใช่เพียงการวาดและกำหนดเส้นเขตแดน แต่เป็นกระบวนการต่อรองเรื่องความทรงจำร่วมของคนในชาติ

ประเด็นนี้ทำให้ JBC มีความอ่อนไหวต่อแรงกดดันทางการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มชาตินิยมที่ใช้ช่องโหว่นี้โจมตีรัฐบาล และการประชุม JBC หลายครั้งก็ถูกชะลอหรือล้มเลิกจากแรงกดดันของกลุ่มการเมืองในประเทศ

ข้อพิพาทเขตแดนไทย-กัมพูชา ไม่ได้ส่งผลแค่ในระดับรัฐ แต่ส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนที่ต้องเผชิญความเสี่ยงจากการปะทะทางทหาร กลไก JBC จึงจำเป็นจะต้องนำนับประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาในสมการ มากกว่าจะคิดแค่เรื่องการจัดทำแผนที่ให้แล้วเสร็จ

ที่สำคัญคือ JBC เป็นกลไกความร่วมมือเชิงสมัครใจ ไม่มีอำนาจบังคับใช้ให้ทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับผลที่ตกลงกันไว้ ทำให้กลายเป็นจุดอ่อนเมื่อเทียบกับกลไกศาลโลกที่มีความผูกพันทางกฎหมาย

สุดท้ายแล้ว มีความเป็นไปได้สูงว่า JBC และเครื่องมือใน MOU 43 อาจไม่ใช่ทางออกสำหรับทุกอย่าง เพราะปัญหาที่ซ่อนอยู่ในรายละเอียดสามารถกลายเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ที่ทำให้ทั้งสองประเทศไม่สามารถตกลงผลประโยชน์ร่วมกันได้ เช่นเดียวกับความร่วมมืออื่นๆ ในภูมิภาค เช่น อาเซียน ที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องด้านการทำงาน จนความร่วมมือของชาติสมาชิกกลายเป็นเพียงเสือกระดาษที่เสื่อมความน่าเชื่อถือ ยกตัวอย่างเช่นวิกฤติในพม่า ที่การทำงานของอาเซียนไม่อาจช่วยแก้ไขอะไรได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอัน

ความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นจากจุดอ่อนของ JBC ชี้ให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่การจัดการข้อพิพาทระหว่างสองประเทศกลไกความร่วมมือแบบทวิภาคีจะประสบความล้มเหลว และอาจต้องการความร่วมมือแบบพหุภาคี ที่มีความเป็นอิสระและมีผลผูกพันทางกฎหมาย นี่อาจเป็นเหตุผลให้ทางกัมพูชาเลือกที่จะนำพื้นที่ 4 จุดที่มีความทับซ้อนให้ศาลโลกซึ่งมีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาททางกฎหมายที่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้พิจารณา แทนที่จะไว้ใจกลไกการพูดคุยกันเองแต่หาข้อสรุปได้ยากอย่าง JBC

นายอำเภอบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ได้เรียกประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอบ้านกรวด ซ้อมแผนอพยพหากเกิดเหตุฉุกเฉิน

Loading

6 มิ.ย. 2568 นายเอกวัฒน์ พวงประโคน นายอำเภอบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ได้เรียกประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอบ้านกรวด เพื่อเน้นย้ำแนวทางการดูแลความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินของประชาชน ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

ผบ.ตร. ย้ำจุดยืนปกป้องรักษาอธิปไตยชาติ สั่ง ตชด. 7 พื้นที่ เตรียมพร้อมสนับสนุน

Loading

วันที่ 5 มิถุนายน 2568 พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. กล่าวถึงกรณีความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชา ในการอ้างสิทธิเกี่ยวกับพื้นที่ และเกิดการปะทะระหว่างกองกำลังไทยและกัมพูชา บริเวณช่องบก จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 28 พ.ค. อาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติให้ความสำคัญสูงสุดในการพิทักษ์ปกป้องรักษาชาติ และคุ้มครองอธิปไตยของดินแดนไทย

“กองทัพบก” เช็กกำลังพร้อมรบ รองรับสถานการณ์ชายแดนตะวันออก

Loading

เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.กองทัพภาคที่ 1 ประกอบด้วย กองพลทหารราบที่ 11 (พล.ร.11) กรมทหารราบเฉพาะกิจ กองพลทหารราบที่ 11 (กรม ร. ฉก.พล.ร.11) ดำเนินการตรวจความพร้อมรบของกำลังหน่วยเฉพาะกิจตามแผนเผชิญเหตุกองทัพบก เพื่อรองรับสถานการณ์การชายแดนด้านตะวันออก ที่อาคาร Stryker Club จ.ชลบุรี