เขมร วางยุทธวิธีขึงลวดหนาม ปิดตายประตูด่านชานแดน ไม่ทราบสาเหตุ

Loading

เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากวันแรกที่มีการปิดด่านชายแดน จุดผ่านแดนถาวรช่องจอม ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ซึ่งทางการไทยได้มีมาตรการตอบโต้กัมพูชา โดยมีหนังสือคำสั่งจาก กกล.สุรนารี ลงวันที่ 7 มิ.ย. 68 เรื่องมาตรการควบคุมจุดผ่านแดนถาวร, จุดผ่อนปรนการค้าในพื้นที่ชายแดน ถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ประกอบด้วย อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, สุรินทร์ และบุรีรัมย์ ตามคำสั่งกองทับบกและกองทัพภาคที่ 2 ในฐานะที่ กกล.สุรนารี เป็นหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ดังกล่าว

ทบ. เริ่มมาตรการจำกัดการผ่านแดนไทย-กัมพูชา ย้ำยกระดับขั้นตอนตามพื้นที่ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนแนวชายแดนเป็นสำคัญ

Loading

ตามที่กองทัพบก ได้กำหนดมาตรการควบคุมการเปิด-ปิด จุดผ่านแดนทุกประเภทตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ตามมติสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ และดูแลความปลอดภัยของประชาชนนั้น พลตรี วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก ได้เปิดเผยว่าปัจจุบันกองกำลังป้องกันชายแดนกองทัพบก เริ่มมีการใช้มาตรการดังกล่าวแล้วตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.68 เวลา 19.00 น. ที่ผ่านมา ดังนี้

คณะกรรมาธิการ JBC คืออะไร ทำไมถึงมีจุดอ่อน จนข้อพิพาทไทย-กัมพูชา ต้องพึ่งศาลโลก

Loading

พื้นที่ทับซ้อนไทยและกัมพูชาเป็นกรณีพิพาททั้งทางทะเลและทางบก ซึ่งกระแสถูกจุดจากถ้อยคำ ‘เสียดินแดน’ ของฝ่ายอนุรักษนิยมทั้งสองประเทศ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ปัญหาเรื่องเขตแดนที่มีความไม่ชัดเจนจนสร้างความสับสนและกระทบกระทั่งนั้นมีอยู่จริง เกิดขึ้นมาหลายยุคสมัย มีแนวโน้มบานปลายได้เสมอ และมักมีวิกฤติทางการเมืองพ่วงมาด้วยทุกครั้ง

หลังการปะทะที่เนิน 745 ช่องบก อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ในพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต เมื่อ 28 พฤษภาคม 2568 ไทยและกัมพูชามีความเห็นร่วมกันว่าควรใช้กลไกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) เป็นกลไกในการเจรจาหาข้อยุติปัญหาบนแผนที่ที่ค้างคามายาวนานนับศตวรรษ โดยมีกำหนดประชุม JBC แบบทวิภาคีไว้ในวันที่ 14 มิถุนายน

ท่ามกลางกระแสชาตินิยมและอนุรักษนิยมของไทยและกัมพูชาที่ออกไปในทาง ‘ไม่ยอมเสียดินแดน’ และรุนแรงไปถึงขั้นเร่งเร้าให้ใช้กำลังทหาร ล่าสุด 5 มิถุนายน ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์ว่า ยังยืนยันจะจัดประชุม JBC ที่กำหนดจัดขึ้นที่กรุงพนมเปญเพื่อเจรจาและดำเนินการทางการทูต แต่ใจความสำคัญที่ระบุในเอกสารของกัมพูชาคือ ได้ตัดสินใจนำข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่อ่อนไหว 4 แห่ง ได้แก่ ช่องบก-สามเหลี่ยมมรกต (Mom Bei), ปราสาทตาเมือนธม (Ta Moan Thom Temple), ปราสาทตาเมือนโต๊ด (Ta Moan Tauch Temple) และปราสาทตาควาย (Ta Krabei Temple) เข้าสู่การพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice: ICJ) หรือศาลโลกแทน

ส่วนหนึ่งของแถลงการณ์จากทางกัมพูชาระบุว่า

“พื้นที่ทั้งสี่แห่งนี้ยังคงเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขและมีความอ่อนไหวมาอย่างยาวนาน ซึ่งอาจนำไปสู่ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไข การตัดสินใจนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นเอกฉันท์จากการประชุมร่วมครั้งแรกของรัฐสภาและวุฒิสภาในวันเดียวกัน

“ขณะที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) นั้น รัฐบาลกัมพูชายังคงมุ่งมั่นในการเจรจาและการทูต กัมพูชาจะยังคงมีส่วนร่วมผ่านกรอบทวิภาคีที่มีอยู่ และจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ครั้งต่อไปในวันที่ 14 มิถุนายน 2568 ที่กรุงพนมเปญ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการส่งเรื่องไปยัง ICJ พื้นที่ทั้งสี่แห่งที่กล่าวมาข้างต้นจะไม่อยู่ในวาระการประชุม JBC ที่จะถึงนี้”

แถลงการณ์ของกัมพูชา

ส่วนท้ายของแถลงการณ์ระบุว่า กัมพูชาหวังว่าประเทศไทยจะให้ความร่วมมือในการนำคดีนี้ขึ้นสู่ ICJ ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม หากไม่ได้รับความร่วมมือ กัมพูชาก็พร้อมจะดำเนินการด้วยตนเอง พร้อมทั้งยังได้เรียกร้องให้ชาวกัมพูชาพิจารณาประเด็นนี้ด้วยความสงบและยับยั้งชั่งใจ และหลีกเลี่ยงการทำให้เป็นเรื่องของความรู้สึกทางชาติพันธุ์หรือชาตินิยม

เท่ากับว่า กัมพูชาประกาศไม่ยอมรับความร่วมมือแบบทวิภาคีของสองชาติที่ชื่อว่า JBC แล้วไปพึ่งศาลโลก เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

จุดเริ่มต้นสางความสับสนเขตแดนในปี 2543
ไทยและกัมพูชาลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบกเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 หรือ MOU 43 มีสาระสำคัญคือ

หลักการพื้นฐานในการกำหนดเส้นเขตแดน
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะยึดถือ สนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ฉบับ 13 กุมภาพันธ์ 1904 และฉบับ 23 มีนาคม 1907 พร้อมแนบแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน หรือแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศส

การจัดตั้งกลไกการทำงาน
คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Boundary Commission: JBC) ทำหน้าที่กำกับดูแลและตัดสินใจในเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศเป็นประธานร่วม
คณะอนุกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Sub-Committee: JTSC) ปฏิบัติงานในด้านเทคนิค สนับสนุนการทำงานของ JBC เช่น การวางแผนการสำรวจ การวิเคราะห์ข้อมูลทางเทคนิค และให้ข้อเสนอแนะต่อ JBC
ขอบเขตการดำเนินงาน
ให้ดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกตลอดแนวชายแดนร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชา

หลักเกณฑ์ทางเทคนิคในการปักปันเขตแดน
สำหรับพื้นที่ภูเขาหรือเทือกเขา ให้ใช้สันปันน้ำ (watershed line) เป็นเกณฑ์
สำหรับพื้นที่ที่เป็นลำน้ำ ให้ใช้แนวกลางร่องน้ำลึก (median line of the deep water channel) เป็นเกณฑ์ เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงกันเป็นอย่างอื่นในบางกรณี
การแก้ไขปัญหาและข้อพิพาท
หากมีปัญหาหรือข้อขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการ ให้ทั้งสองฝ่ายแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธีผ่านการปรึกษาหารือในกรอบของ JBC

การจัดทำเอกสารผลลัพธ์
เมื่อดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในแต่ละตอนแล้วเสร็จ จะต้องมีการจัดทำ คำอธิบายประกอบแนวเขตแดน (Description of the Boundary Line) และ แผนที่แสดงผลการปักปันเขตแดน (Demarcation Map) ที่ทั้งสองฝ่ายให้การรับรองร่วมกัน

ความร่วมมือและอำนวยความสะดวก
ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกแก่กันในการปฏิบัติงานของ JBC และ JTSC รวมถึงการเข้าพื้นที่เพื่อการสำรวจ

การมีผลบังคับใช้และการแก้ไข
บันทึกความเข้าใจนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนาม
การแก้ไขใดๆ ต่อบันทึกความเข้าใจนี้จะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรและได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่าย

JBC คืออะไร?
‘คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม’ (JBC) เป็นความร่วมมือแบบทวิภาคี มีระดับรัฐมนตรีช่วยของแต่ละฝ่ายเป็นประธานร่วมกัน ประชุมกันปีละครั้งเพื่อรับผิดชอบการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน จัดทำแผนแม่บทในการทำงาน และกำหนดความเร่งด่วนของพื้นที่ที่จะทำการสำรวจ

หน้าที่หลักๆ ที่คาดหวังจากความร่วมมือนี้คือ พิสูจน์ตำแหน่งหลักเขตทั้ง 73 หลักที่มีอยู่แต่เดิม และให้จัดทำแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบกขึ้นมาใหม่

แต่ปัญหาสำคัญคือ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นจาก MOU 43 อ้างอิงแผนที่ตั้งแต่ยุคสยาม-ฝรั่งเศส ซึ่งใช้มาตราส่วน 1:200,000 เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นไทยอ้างแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 ที่จัดทำโดยกรมแผนที่ทหาร และกัมพูชาอ้างแผนที่มาตราส่วน 1:100,000 แผนที่ใหม่ทั้งสองชุดจึงไม่สอดคล้องกับ MOU 43 และไม่สามารถใช้อ้างอิงอะไรได้ จึงมีแนวโน้มอยู่แล้วว่า การดำเนินการของ JBC จะไม่ได้รับการยอมรับและไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพที่ยอมรับร่วมกันง่ายๆ

ทำไม JBC พึ่งพาไม่ได้เท่าศาลโลก?
แม้ JBC จะเป็นกลไกความร่วมมือระหว่างรัฐ แต่แค่เฉพาะไทย การปักปันเขตแดนก็เป็นเครื่องมือทางการเมืองบ่อยครั้ง JBC จึงไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างราบรื่น ตรงกันข้าม กลับกลายเป็นประเด็นการเมืองภายในประเทศที่ซับซ้อนขึ้นไปอีก เช่น เป็นเครื่องมือในการต่อสู้เชิงอุดมการณ์เกี่ยวกับอธิปไตย การยอมอ่อนข้อ การเสียดินแดน และความมั่นคง

เช่น กรณีเขาพระวิหาร ในปี 2551–2553 ขณะที่รัฐบาลไทยอยู่ระหว่างการเจรจากับกัมพูชาเพื่อจัดทำแผนการจัดการปราสาทพระวิหารร่วมกับ UNESCO ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า การเจรจาผ่าน JBC โดยไม่ผ่านการอนุมัติจากรัฐสภาเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ

นอกจากนี้ ข้อพิพาทเรื่องเขตแดนมักเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และการรับรู้เรื่องความเป็นชาติ โดยเฉพาะไทย-กัมพูชา ที่อ้างความเป็นเจ้าของพื้นที่ผ่านประวัติศาสตร์คนละฉบับ และมีอคติแฝงฝังอยู่ในแนวคิดของแต่ละฝ่าย การเจรจาผ่าน JBC จึงไม่ใช่เพียงการวาดและกำหนดเส้นเขตแดน แต่เป็นกระบวนการต่อรองเรื่องความทรงจำร่วมของคนในชาติ

ประเด็นนี้ทำให้ JBC มีความอ่อนไหวต่อแรงกดดันทางการเมืองภายในประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มชาตินิยมที่ใช้ช่องโหว่นี้โจมตีรัฐบาล และการประชุม JBC หลายครั้งก็ถูกชะลอหรือล้มเลิกจากแรงกดดันของกลุ่มการเมืองในประเทศ

ข้อพิพาทเขตแดนไทย-กัมพูชา ไม่ได้ส่งผลแค่ในระดับรัฐ แต่ส่งผลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนที่ต้องเผชิญความเสี่ยงจากการปะทะทางทหาร กลไก JBC จึงจำเป็นจะต้องนำนับประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาในสมการ มากกว่าจะคิดแค่เรื่องการจัดทำแผนที่ให้แล้วเสร็จ

ที่สำคัญคือ JBC เป็นกลไกความร่วมมือเชิงสมัครใจ ไม่มีอำนาจบังคับใช้ให้ทั้งสองฝ่ายต้องยอมรับผลที่ตกลงกันไว้ ทำให้กลายเป็นจุดอ่อนเมื่อเทียบกับกลไกศาลโลกที่มีความผูกพันทางกฎหมาย

สุดท้ายแล้ว มีความเป็นไปได้สูงว่า JBC และเครื่องมือใน MOU 43 อาจไม่ใช่ทางออกสำหรับทุกอย่าง เพราะปัญหาที่ซ่อนอยู่ในรายละเอียดสามารถกลายเป็นอุปสรรคชิ้นใหญ่ที่ทำให้ทั้งสองประเทศไม่สามารถตกลงผลประโยชน์ร่วมกันได้ เช่นเดียวกับความร่วมมืออื่นๆ ในภูมิภาค เช่น อาเซียน ที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องด้านการทำงาน จนความร่วมมือของชาติสมาชิกกลายเป็นเพียงเสือกระดาษที่เสื่อมความน่าเชื่อถือ ยกตัวอย่างเช่นวิกฤติในพม่า ที่การทำงานของอาเซียนไม่อาจช่วยแก้ไขอะไรได้อย่างเป็นชิ้นเป็นอัน

ความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นจากจุดอ่อนของ JBC ชี้ให้เห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่การจัดการข้อพิพาทระหว่างสองประเทศกลไกความร่วมมือแบบทวิภาคีจะประสบความล้มเหลว และอาจต้องการความร่วมมือแบบพหุภาคี ที่มีความเป็นอิสระและมีผลผูกพันทางกฎหมาย นี่อาจเป็นเหตุผลให้ทางกัมพูชาเลือกที่จะนำพื้นที่ 4 จุดที่มีความทับซ้อนให้ศาลโลกซึ่งมีหน้าที่ตัดสินข้อพิพาททางกฎหมายที่ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้พิจารณา แทนที่จะไว้ใจกลไกการพูดคุยกันเองแต่หาข้อสรุปได้ยากอย่าง JBC

รมช.กลาโหม”พล.อ.ณัฐพล” ดึงสติปมข่าวลือชายแดน ย้ำยึดข้อเท็จจริง

Loading

4 มิถุนายน 2568 – พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออกมากล่าวถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาในปัจจุบัน โดยเน้นย้ำถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาในพื้นที่ นั่นคือ “การปฏิบัติการด้านข้อมูลข่าวสาร (Information Operations: IO)” โดยชี้ว่า ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสารนี้เกิดขึ้นจากหลายกลุ่มหลายฝ่าย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งมีเจตนาที่จะสร้างความสับสนในสังคม จึงขอให้ประชาชนทุกคน ยึดมั่นในความสามัคคี และสร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง ไม่ตกเป็นเครื่องมือในสงครามข่าวสาร

โฆษกมหาดไทยเผยกรมการปกครองส่งหนังสือด่วนที่สุดแจ้งผู้ว่าฯ 7 จังหวัดชายแดนยึด 4 แนวปฏิบัติดูแลความสงบ ปลอดภัยประชาชนจากสถานการณ์ไทย-กัมพูชา

Loading

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทยและโฆษกกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ต่อเนื่องจากที่นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ได้มีข้อกำชับไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมีที่ตั้งตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยประชาชน ตลอดจนการจัดทรัพยากร กำลังเจ้าหน้าที่สนับสนุนและอำนวยความสะดวกเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งปฏิบัติภารกิจด้านความมั่นคงบริเวณชายแดน 

มทภ.2 ยืนยัน “ภาพจริง” ทหารกัมพูชาขุดคูสร้างฐานมั่นล้ำที่ไทย เผยแจรจาจนถอนกำลังแล้ว

Loading

มทภ.2 รับ ทหารกัมพูชา ขุดคูเลทสร้างฐานที่มั่นเป็นภาพจริง สั่งทหารเข้าเจรจา จนยอมถอนกำลังออกนอกพื้นที่ทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนนัดคุยโดยปราศจากอาวุธ ยืนยันสถานการณ์ชายแดนตลาดช่อง อานม้ายังค้าขายได้ตามปกติ