สหรัฐฯ แบนอุปกรณ์สื่อสาร ‘หัวเว่ย-ZTE’ อ้างกระทบความมั่นคงของชาติ

Loading

  รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ออกคำสั่งห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารจากบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยีส์ และบริษัท ZTE ของจีน โดยอ้างว่ากระทบต่อความมั่นคงของชาติจนถึงขั้นที่ “ไม่อาจยอมรับได้”   คณะกรรมาธิการกำกับดูแลกิจการสื่อสารแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Communications Commission : FCC) ประกาศวานนี้ (25 พ.ย.) ว่า ทางหน่วยงานยังได้บังคับใช้กฎห้ามการนำเข้าและจำหน่ายอุปกรณ์สอดแนมที่ผลิตโดยบริษัท Dahua Technology รวมไปถึงกล้องวิดีโอวงจรปิดของบริษัท Hangzhou Hikvision Digital Technology และบริษัทโทรคมนาคม Hytera Communications Corp ด้วย   มาตรการนี้ถือเป็นความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่จะกีดกันบริษัทไฮเทคของจีนท่ามกลางความวิตกกังวลว่าปักกิ่งอาจใช้อุปกรณ์ของบริษัทเหล่านี้เป็นเครื่องมือสอดแนมชาวอเมริกัน   “กฎใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในความพยายามของเราที่จะปกป้องชาวอเมริกันจากภัยคุกคามด้านความมั่นคงของชาติที่เกิดจากระบบโทรคมนาคม” เจสซิกา โรเซนวอร์เซล ประธาน FCC ระบุในถ้อยแถลง   กรรมาธิการทั้ง 4 คนใน FCC ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกพรรครีพับลิกัน 2 คน…

อังกฤษจำกัดการใช้กล้องซีซีทีวีผลิตโดยจีน “ด้วยเหตุผลความมั่นคง”

Loading

GETTY IMAGES   รัฐบาลสหราชอาณาจักรขอให้หน่วยงานของรัฐไม่ติดตั้งกล้องวีดีโอวงจรปิด ที่ผลิตโดยบริษัทของจีน เพราะความวิตกกังวลในเรื่องความมั่นคง   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศสหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ว่านายโอฃิเวอร์ โดวเดน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร ยื่นหนังสือต่อสภาสามัญ ขอความร่วมมือให้หน่วยงานทุกแห่งของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ ไม่ติดตั้งกล้องวีดีโอวงจรปิดที่ผลิตโดยบริษัทของจีน “ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง”   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของรัฐบาลสหราชอาณาจักรเกิดขึ้น หลังตลอดช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สมาชิกสภาสามัญหลายสิบคนร่วมกันเรียกร้อง ให้มีการบัญญัติกฎหมาย หรืออย่างน้อยกำหนดมาตรการควบคุมการจำหน่ายและการใช้งาน กล้องวีดีโอวงจรปิด ซึ่งผลิตโดยบริษัทเจ้อเจียง ต้าหัว เทคโนโลยี ( ต้าหัว ) และบริษัทฮิควิชั่น   UK restricts Chinese cameras in government buildings over security fears https://t.co/HdeOXHRgNk pic.twitter.com/N0bVv6RDsP — Reuters (@Reuters) November 25, 2022   ขณะที่บริษัทฮิควิชั่นออกแถลงการณ์ปฏิเสธ “ความวิตกกังวล”…

สหรัฐผลักดันแผนลงโทษบริษัท-ชาวมะกันที่ช่วยจีนผลิตชิป หวั่นถูกใช้ทางทหาร

Loading

  นางจีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเดินหน้าผลักดันแผนการของรัฐบาลสหรัฐที่จะใช้มาตรการลงโทษบริษัทและพลเมืองของสหรัฐที่ให้ความช่วยเหลือจีนในการผลิตชิปที่ล้ำสมัย   “เราจำเป็นต้องปกป้องพลเมืองชาวอเมริกันจากการขยายอิทธิพลของจีน เพราะขณะนี้จีนได้แสดงท่าทีแข็งกร้าวมากขึ้น ด้วยการใช้กลยุทธ์การแทรกซึมทั้งทางทหารและพลเรือน โดยจีนใช้วาทศิลป์ในการสั่งซื้อชิปที่ล้ำสมัยของเรา และอ้างว่าจะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการพาณิชย์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว จีนกำลังใช้ชิปเหล่านี้เพื่อผลิตอุปกรณ์ทางทหาร ซึ่งเจ้าหน้าที่สหรัฐกังวลว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกใช้เพื่อคุกคามอเมริกา” นางไรมอนโดให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นบีซีในวันพฤหัสบดี (3 พ.ย.)   เมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดนได้ออกมาตรการควบคุมการส่งออกชิปให้กับจีน โดยพุ่งเป้าไปที่การส่งออกชิปคอมพิวเตอร์ขั้นสูงที่มีจุดประสงค์เพื่อการใช้งานในซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยรัฐบาลสหรัฐวิตกว่า จีนกำลังใช้ระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่ล้ำสมัยเพื่อปรับปรุงการคำนวณต่าง ๆ ในการออกแบบอาวุธ, การทดสอบอาวุธนิวเคลียร์, ระบบไฮเปอร์โซนิก และระบบขีปนาวุธอื่น ๆ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์ผลการสู้รบ   “ดิฉันเชื่อว่าจะมีอีกหลายประเทศที่ดำเนินการตามมาตรการของเรา” นางไรมอนโดกล่าว   กระทรวงพาณิชย์สหรัฐได้ออกกฎระเบียบใหม่ซึ่งกำหนดว่า บริษัทผลิตชิปของสหรัฐที่ต้องการจะส่งออกชิปที่สามารถนำไปใช้ในระบบผลิตอาวุธนั้น จะต้องได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงก่อน นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังได้ออกมาตรการควบคุมการออกใบอนุญาต เพื่อป้องกันไม่ให้พลเมืองของสหรัฐทำงานให้กับอุตสาหกรรมการผลิตชิปของจีน เพราะเกรงว่าจะทำให้พลเมืองของสหรัฐเผชิญกับความเสี่ยง   ทั้งนี้ นางไรมอนโดกล่าวว่า กฎระเบียบใหม่นี้เป็นสิ่งที่จำเป็น แม้ว่าจะทำให้บริษัทบางแห่งของสหรัฐสูญเสียรายได้ก็ตาม       ———————————————————————————————————————————- ที่มา :   …

รัสเซียขู่ทำลายดาวเทียมสหรัฐฯและชาติตะวันตก เหตุช่วยรบยูเครน

Loading

Russia Satellite Launch   เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงต่างประเทศรัสเซีย กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่รัฐบาลมอสโกจะยิงดาวเทียมพาณิชย์ของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ที่ใช้ในการช่วยเหลือยูเครนในการต่อสู้กับรัสเซีย ในระหว่างที่รัสเซียระดมโจมตีโครงสร้างพื้นฐานยูเครนอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานของรอยเตอร์   คอนสแตนติน โวรอนต์ซอฟ รองผู้อำนวยการฝ่ายไม่แพร่ขยายอาวุธและการควบคุมอาวุธ กระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย บอกว่า การใช้ดาวเทียมพาณิชย์ของชาติตะวันตกเพื่อช่วยเหลือยูเครนในการสู้รบนั้น “เป็นแนวโน้มที่อันตรายอย่างยิ่ง” และได้กล่าวกับทางสหประชาชาติว่า “โครงสร้างพื้นฐานกึ่งพลเรือนอาจเป็นเป้าหมายที่ชอบธรรมในการโจมตี” พร้อมยังบอกด้วยว่า การใช้ดาวเทียมของชาติตะวันตกเพื่อสนับสนุนยูเครนนั้นถือเป็น “การยั่วยุ”   “เรากำลังพูดถึงการมีส่วนร่วมของระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านอวกาศของพลเรือน รวมทั้งเชิงพาณิชย์ ที่เป็นของสหรัฐฯ และพันธมิตรของสหรัฐฯ ในความขัดแย้งนี้” โวรอนต์ซอฟกล่าว แต่ไม่ได้เอ่ยถึงดาวเทียมพาณิชย์ของบริษัทใดบริษัทหนึ่งออกมา แต่ก่อนหน้านี้ อิลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทสเปซเอ็กซ์ เคยกล่าวเมื่อต้นเดือนตุลาคมว่า จะยังสนับสนุนโครงการบริการอินเตอร์เน็ต สตาร์ลิงค์ ในยูเครนต่อไปเพราะถือเป็นสิ่งจำเป็น   ทั้งนี้ รัสเซียมีศักยภาพด้านอวกาศในเชิงรุกที่สำคัญ เช่นเดียวกับสหรัฐฯ และจีน โดยเมื่อปี 2021 รัสเซียเพิ่งทดสอบยิงขีปนาวุธต่อต้านดาวเทียม เพื่อทำลายดาวเทียมของตนมาแล้ว   หากรัสเซียดำเนินการเช่นนั้น จะถือเป็นการยกระดับความขัดแย้งจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา ให้กลายเป็นการเผชิญหน้าระหว่างรัสเซียและชาติตะวันตกแทน  …

รัสเซียเรียกร้องหน่วยงานรัฐแบน WhatsApp

Loading

  สมาชิกรัฐสภารัสเซียออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐบาลรัสเซียเลิกใช้โปรแกรมแชท “WhatsApp” ของเมตา หลังเมตาถูกรัสเซียจัดเป็นกลุ่มก่อการร้าย   รอยเตอร์รายงานว่านายแอนตัน โกเรลคิน รองประธานคณะกรรมาธิการรัฐสภาฝ่ายข้อมูลข่าวสารของรัสเซียได้ออกมาเรียกร้องเจ้าหน้าที่และหน่วยงานรัฐยุติการใช้แอปพลิชัน WhatsApp ของเมตา หลังจากรัสเซียได้ประกาศให้ “เมตา” อยู่ในลิสต์กลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มหัวรุนแรงไปก่อนหน้านี้ รวมทั้งสั่งบล็อคเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม ซึ่งเป็นของเมตาไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากอนุญาตให้มีการโพสต์โจมตีทหารรัสเซียที่ปฎิบัติการอยู่ในยูเครน อย่างไรก็ตาม WhatsApp ยังคงใช้และนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนรัสเซีย   โกเรลคินกล่าวว่าตัวเขาได้ลบแอปนี้ไปเรียบร้อยแล้ว พร้อมเรียกร้องให้มีการแบนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการ ทั้งระดับรัฐและท้องถิ่น โดยเรียกร้องให้รัสเซียพัฒนาแอปแชท ของตัวเองออกมาใช้แทน   รัสเซียประสบปัญหาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม หลังจากถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตร ขณะที่บริษัทระหว่างประเทศจำนวนมาก รวมทั้งอุตสาหกรรมด้านการโทรคมนาคมก็ย้ายออกจากประเทศ ซึ่งรัสเซียกำลังหาทางพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปของตนเอง เพื่อจะได้ยุติการพึ่งพาเทคโนโลยีตะวันตก     ภาพจาก  GETTY IMAGES         ——————————————————————————————————————————– ที่มา :                   …

ไม่มีทางเลือก! สถานการณ์บีบญี่ปุ่นเปลี่ยนนโยบายป้องกันฯ ครั้งแรกในรอบสิบปี

Loading

ฟูมิโอะ คิชิดะ กับสถานการณ์รายล้อมไปด้วยระบอบการปกครองที่เป็นปรปักษ์มากขึ้นจากจีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ (ภาพไฟแนนเชียลไทม์)   ไฟแนนเชียลไทม์ รายงาน (12 ต.ค.) ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เตรียมการป้องกันของญี่ปุ่นสำหรับ ‘สถานการณ์ที่เป็นไปได้’ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของประเทศเพื่อตอบโต้จีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ   รายงานบทวิเคราะห์กล่าวว่า โดยธรรมชาติแล้ว ฟูมิโอะ คิชิดะ เป็นนักการทูตที่เคารพกฎหมาย แต่สถานการณ์รายล้อมไปด้วยระบอบการปกครองที่เป็นปรปักษ์มากขึ้นจากจีน รัสเซีย และเกาหลีเหนือ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องเปลี่ยนรูปแบบการป้องกันประเทศของเขา   เป็นเวลากว่า 70 ปี ที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้มอบความไว้วางใจให้ประชาชนของตนมีความปลอดภัย ด้วยการเป็นพันธมิตรด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ยึดถึอลัทธิปฏิบัตินิยมทางเศรษฐกิจของเพื่อนบ้าน และควบคุมกองทัพ โดยรัฐธรรมนูญที่มุ่งสันติ   แต่ตอนนี้ คิชิดะต้องตอบคำถามอย่างเร่งด่วนว่า ประเทศสามารถป้องกันตนเองและตอบสนองต่อความขัดแย้งในภูมิภาคที่อาจเกิดขึ้นได้หรือไม่   ในการให้สัมภาษณ์กับ Financial Times คิชิดะ กล่าวว่า เขาจะทำการตรวจสอบความสามารถในการป้องกันของญี่ปุ่นอย่างครอบคลุมในแง่ของ “สภาพแวดล้อมด้านความปลอดภัยที่เข้มงวดมากขึ้นในเอเชียตะวันออก” รวมถึงความก้าวหน้าในเทคโนโลยีขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ การปรากฏตัวของกองทัพจีน และการรุกรานยูเครนของรัสเซีย   “เราจำเป็นต้องตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่า…