PDPC คุมเข้ม! การสแกนม่านตา โดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) นำโดย พ.ต.อ. สุรพงศ์ เปล่งขำ เลขาธิการฯ พ.ต.อ. ณัทกฤช พรหมจันทร์ รคส. สก. , นายอมรพันธุ์ นิติธีรานนท์ ผอ.ตส. พร้อมด้วย ร.ท. ฐานันดร สำราญสุข หัวหน้าศูนย์ PDPC Eagle Eye และคณะเจ้าหน้าที่ เดินหน้าปฏิบัติการเชิงรุก จัดประชุมหารือกรณีการใช้เทคโนโลยี “สแกนม่านตาแลกรับสิทธิ์สินทรัพย์ดิจิทัล” หลังพบประชาชนจำนวนมากให้ข้อมูลโดยไม่เข้าใจถึงความเสี่ยง จนนำมาสู่ข้อกังวลด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และการปฏิบัติตามกฎหมาย
โดยทุกหน่วยงานจะได้มีการตรวจสอบเฝ้าระวังและกำกับดูแล ตามหน้าที่อำนาจของแต่ละหน่วยงานต่อไป ดังนี้
PDPC
– ตรวจสอบให้บริษัทมีการแจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอความยินยอมต้องมีการขอความยินยอมโดยชัดแจ้ง ตลอดจนการแจ้งวัตถุประสงค์ ต้องแจ้งวัตถุประสงค์อย่างครบถ้วนชัดเจน ตลอดจนช่องทางการใช้สิทธิของผู้ที่สแกนม่านตา หากพบมีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม PDPA ตั้งแต่การเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย จนถึงการทำลาย และการตอบสนองต่อสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล จะดำเนินการตามกฎหมายทันที
– ETDA ร่วม PDPC Eagle Eye
แจ้งหากมีการตรวจพบ digital platform ภายใน world app ที่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนตามกฎหมายจะแจ้งให้เอาลงทันที
– ก.ล.ต.หากตรวจพบ app ต่างประเทศที่มีการหารายได้ภายใน world app จะได้ดำเนินการตามระเบียบกฎหมายของ กลต.ต่อไป
– บช.สอท. หรือ ตำรวจไซเบอร์ หากพบมีการนำข้อมูลไปใช้ในการกระทำผิดกฎหมายอาญา หรือชักชวนบุคคลอื่นมาสแกนม่านตาโดยเจตนากระทำผิด จะดำเนินคดีทันที
ด้านบริษัทที่ให้บริการ World App แจ้งข้อมูลยินดีดำเนินการเพื่อความโปร่งใส ดังนี้
– บริษัทยืนยันขั้นตอนการเก็บข้อมูลม่านตา เพื่อยืนยันความเป็นมนุษย์เท่านั้นโดยจะมีการลบทำลายเรียบร้อยทันที ทั้งนี้จะส่งหลักฐานการลบให้ สคส.ตรวจสอบต่อไป
– บริษัทยืนยันมีมาตรการป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นนำข้อมูลไปใช้ได้ โดยเจ้าของรหัสเท่านั้นจึงมีสิทธิ์ใช้ ข้อมูลในรหัสของตน
– บริษัทจะประกาศแจ้งเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพจ้างให้ไปสแกน โดยย้ำเตือนว่าเงินค่าจ้างอาจเป็นเงินที่ผู้จ้างได้มาโดยผิดกฎหมายได้
– บริษัทจะจัดทำสื่ออธิบายรายละเอียด ขั้นตอน การทำงานของเครื่องมือ การรักษาความปลอดภัย และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าว เผยแพร่ให้ประชาชนเข้าใจก่อนตัดสินใจเข้าสแกนม่านตา
ซึ่งการประชุมครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญที่ สคส.เป็นศูนย์กลาง ในการบูรณาการความร่วมมือการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานอีกครั้ง
โครงการ World ที่มีการสแกนม่านตาคืออะไร?
โครงการ Worldcoin (เวิลด์คอยน์) คือหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับความสนใจอย่างมาก ก่อตั้งโดย แซม อัลต์แมน (Sam Altman) ซึ่งเป็นซีอีโอของ OpenAI (ผู้สร้าง ChatGPT) มีเป้าหมายหลักคือการสร้าง ระบบยืนยันตัวตนดิจิทัลระดับโลก (World ID) และเครือข่ายทางการเงินที่ทุกคนเข้าถึงได้ในยุคที่เทคโนโลยี AI กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
Worldcoin ทำงานอย่างไร?
หัวใจสำคัญของ Worldcoin อยู่ที่การใช้เทคโนโลยี สแกนม่านตา โดยใช้อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า “Orb” (ออร์บ) ซึ่งมีลักษณะเป็นลูกโลกทรงกลมแวววาว เพื่อยืนยันว่าผู้ใช้งานเป็น “มนุษย์จริง” และไม่ใช่บอทหรือปัญญาประดิษฐ์
– World ID: เมื่อสแกนม่านตาเรียบร้อยแล้ว ผู้ใช้จะได้รับ World ID ซึ่งเป็นรหัสพิสูจน์ตัวตนดิจิทัลที่ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง “หลักฐานความเป็นมนุษย์ (Proof of Humanity)” ในโลกออนไลน์ เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากบอท มิจฉาชีพ และการปลอมแปลงตัวตนในยุคที่ AI มีความสามารถสูงขึ้น
– Worldcoin Token (WLD): นอกจาก World ID แล้ว ผู้ที่เข้าร่วมสแกนม่านตาในบางประเทศจะได้รับ เหรียญคริปโทเคอร์เรนซี WLD เป็นสิ่งตอบแทน ซึ่งเป็นโทเคนดิจิทัลหลักที่ใช้ภายในระบบ World Network
– World App: คือแอปพลิเคชันกระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใช้เก็บรหัสความปลอดภัยและการเข้าถึงข้อมูลของ World ID รวมถึงสามารถใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลและ Stablecoin
จุดประสงค์และเป้าหมายของ Worldcoin