อย่าหลงเชื่อขบวนการหลอกทำภารกิจออนไลน์ วางกับดัก “กำลังจะได้เงินก้อนใหญ่”

Loading

    ภารกิจรายได้เสริม หรือ กับดักหมดตัว? กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์) ออกมาแจ้งเตือนประชาชนผ่านเฟซบุ๊ก ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท. โดยระบุว่า ภารกิจรายได้เสริม หรือ กับดักหมดตัว? ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย อย่าหลงเชื่อ! ขบวนการหลอกทำภารกิจออนไลน์ลวงให้โอนเงิน โดยมิจฉาชีพวางแผนหลอกเหยื่ออย่างเป็นระบบ ตั้งแต่สร้างแชทปลอม ดึงเข้ากลุ่มที่มีหน้าม้า จนเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยอ้างว่า “กำลังจะได้เงินก้อนใหญ่” 7 ขั้นตอนขบวนการหลอกให้ทำภารกิจปลอม 1.ล่อเหยื่อด้วยโฆษณา มีการยิงแอด โพสต์ปลอม แล้วทักแชตตรง 2.สร้างฉากลวงในกลุ่มแชต มีหน้าม้าปั้นสถานการณ์ให้ดูน่าเชื่อถือ 3.หลอกให้ทำภารกิจง่ายๆ ดูคลิป กดไลก์ รีวิวสินค้า 4.ปั้นรายได้ปลอมให้เห็น มีเงินรอในระบบแต่ยังถอนออกมาไม่ได้ 5.บีบให้โอนซ้ำเพื่อปลดล็อก อ้างขั้นตอนผิดต้องโอนเพิ่ม 6.ใช้จิตวิทยากลุ่มกดดัน หน้าม้าหลอกว่าเคยได้เงิน เพื่อให้เหยื่อตาม 7.หลอกซ้ำด้วยความกลัว-สงสาร ข่มขู่ทางกฎหมายหรือขอความเห็นใจให้โอนอีก สามารถแจ้งความออนไลน์ได้ที่ www.thaipoliceonline.go.th หากมีข้อสงสัย สอบถามได้ที่สายด่วน 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง    …

ด่วน! คนร้ายลอบวางระเบิดโจมตีรถทหารพราน หน่วยเฉพาะกิจ ทพ.44 เจ็บ 2

Loading

(13 พ.ค. 2568) เวลาประมาณ 13.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเกิดเหตุลอบวางระเบิดบริเวณถนนสาย 42 พื้นที่บ้านโต๊ะตีเต หมู่ที่ 3 ต.ตอหลัง อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยเป้าหมายคือ รถยนต์บรรทุกขนาด 6 ล้อของเจ้าหน้าที่ทหารพราน สังกัดหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 44 (ทพ.44) ขณะกำลังปฏิบัติภารกิจในพื้นที่

เมียนมา ส่งเครื่องบินรบถล่มกองกำลังกะเหรี่ยง ขณะกองกำลังไทยตรึงกำลังบริเวณชายแดน

Loading

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม กองทัพอากาศทหารเมียนมาใช้เครื่องบินรบโจมตี ทิ้งระเบิดในการสกัดกั้นทหารกะเหรี่ยงอิสระ ภายใต้สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) และกะเหรี่ยงเคเอ็นดีโอ เพื่อป้องกันฐานที่ตั้งของกองพันทหารราบที่ 24 บ้านตานเหล่ อ.แลงปอย จ.ผาอัน รัฐกะเหรี่ยง ประเทศเมียนมา ตรงข้ามบ้านแม่ต้าน หมู่ 1 ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก อย่างต่อเนื่อง

เจาะลึก AI Governance สหภาพยุโรปและไทย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

Loading

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงระบบขนส่ง การทำความเข้าใจและกำกับดูแล AI อย่างเหมาะสมจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป รัฐบาลในหลายประเทศเริ่มตื่นตัวเกี่ยวกับ “ธรรมาภิบาล AI” หรือ AI governance ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของความโปร่งใส ความยุติธรรม หรือแม้แต่ความปลอดภัยในอนาคต ที่น่าสนใจคือ ในขณะที่สหภาพยุโรปได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นด้วยการออกกฎหมาย EU AI Act ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2567 (แต่มีการบังคับใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป มีขั้นมีตอน จะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบช่วงกลางปี 2569) ประเทศไทยเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและได้มีการร่างคู่มือแนวทางการกำกับดูแล Generative AI ออกมาเช่นกันเมื่อช่วงปลายปี 2567 แล้วสองแนวทางนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? มาร่วมกันเจาะลึกถึงประเด็นเหล่านี้และเตรียมพร้อมรับมือกับยุคสมัยที่ AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกของเราอย่างลึกซึ้งกันครับ จากการเปรียบเทียบพระราชบัญญัติ AI ของสหภาพยุโรป (EU AI Act) และคู่มือแนวทางการกำกับดูแล Generative AI สำหรับองค์กรของไทย (Thai AI Guideline) มีประเด็นสำคัญดังนี้ ครับ ขอบเขตและสถานะทางกฎหมาย คู่มือแนวทางการกำกับดูแล Generative…

ศาลกรุงลอนดอน ตัดสินจำคุกหัวหน้ากลุ่มสายลับรัสเซีย ในอังกฤษ 10 ปี 8 เดือน

Loading

ศาลในกรุงลอนดอน ตัดสินจำคุกกลุ่มผู้ต้องหาในคดีเป็นสายลับรัสเซียที่มีการเคลื่อนไหวในอังกฤษ โดยให้จำคุก 10 ปี 8 เดือน นายออลิน รุสเซฟ ชายชาวบัลแกเรีย อายุ 47 ปี รับสารภาพว่า เป็นหัวหน้ากลุ่มสายลับ ที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามการเคลื่อนไหวของนักข่าวที่ต่อต้านรัฐบาล และทหารยูเครนที่กำลังฝึกอยู่ในฐานทัพสหรัฐฯ ที่เยอรมนี

สะพานแห่งกาลเวลา : ความลับของ ‘แอเรีย 51’

Loading

“แอเรีย 51” เป็นปริมณฑลทางทหารของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ติดกับ “กรูม เลค” (Groom Lake) ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่แห้งเหือดไปแล้วในรัฐเนวาดา เป็นพื้นที่ “ต้องห้าม” ชนิดห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปเด็ดขาด อาณาบริเวณของแอเรีย 51 มีรั้วลวดหนามขึง แสดงตำแหน่งไว้ชัดเจนโดยตลอด