เครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนระหว่างประเทศ (ไอซีไอเจ) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เปิดเผยว่า จีนกำลังส่งกองทัพที่ปลอมตัวเป็นองค์กรนอกภาครัฐ (เอ็นจีโอ)
เพื่อเฝ้าติดตาม และข่มขู่นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนในองค์กรสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ว่า โครงการ “ไชนา ทาร์เก็ตส์” ของไอซีไอเจ พุ่งเป้าไปที่การสืบสวนกลวิธีต่าง ๆ ซึ่งรัฐบาลจีนใช้ปิดปากนักวิจารณ์ในต่างประเทศ
รวมถึงองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่จัดตั้งโดยรัฐบาล หรือกอนโกส (Gongos)
Introducing ICIJ’s #ChinaTargets investigation: This collaboration among 104 journalists from 43 media partners in 30 countries uncovers the sprawling scope and terrifying tactics of Beijing’s campaign to target dissident members of its diaspora.
Here is what we found: pic.twitter.com/VoeKVRrkrb
— ICIJ (@ICIJorg) April 28, 2025
กลุ่มคนเหล่านี้รวมตัวกันในที่ประชุมสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น เพื่อยกย่องและนำเสนอเรื่องราวชื่นชมการกระทำของจีน ซึ่งขัดแย้งกับรายงานของยูเอ็นและผู้เชี่ยวชาญ และเมื่อองค์กรสิทธิแห่งใดก็ตาม หยิบยกประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น กอนโกสมักพยายามก่อกวนและกลบคำให้การของพวกเขา
เครือข่ายระบุว่า มีเอ็นจีโอ 106 แห่งจากจีน ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน ที่ลงทะเบียนกับยูเอ็น ขณะที่องค์กร 59 แห่ง มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลปักกิ่ง หรือพรรคคอมมิวนิสต์จีน มากไปกว่านั้น ในการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของจีน เมื่อปีที่แล้ว เอ็นจีโอมากกว่าครึ่งหนึ่งยังกล่าวสนับสนุนรัฐบาลจีน
Beijing-backed “GONGOs” have transformed the U.N. in Geneva into a hostile environment for critics of President Xi Jinping. Fifteen activists and lawyers described being surveilled or harassed by people suspected to be proxies for the Chinese government. https://t.co/tfTtt3orpc
— ICIJ (@ICIJorg) April 28, 2025
นอกจากนั้น รายงานอ้างถึงเหตุการณ์ เมื่อเดือน มี.ค. ปีที่แล้ว กรณีนักเคลื่อนไหวชาวอุยกูร์กลุ่มหนึ่งหวาดกลัวต่อการปรากฏตัวของผู้แทนรัฐบาลปักกิ่งในที่ประชุม จึงปฏิเสธที่จะเข้าไปในสำนักงานของยูเอ็น และจัดการประชุมที่อาคารสำนักงานในละแวกใกล้เคียงแทน
ในวันนั้น บุคคล 4 คน ซึ่งอ้างว่ามาจาก “สมาคมสิทธิมนุยชนกวางตุ้ง” ปรากฏตัวขึ้น และสอบถามถึงการประชุมดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่จากองค์กร อินเตอร์เนชันแนล เซอร์วิส ฟอร์ฮิวแมนไรท์ (ไอเอสเอชอาร์) ซึ่งทำหน้าที่ดูแลการประชุม ปฏิเสธว่า “ไม่มีการประชุมใด ๆ เกิดขึ้น” กลุ่มคนเหล่านี้จึงออกไป
แต่ต่อมา ชาวอุยกูร์กลุ่มนี้พบเห็นบุคคลบนรถยนต์สีดำ แอบถ่ายรูปพวกเขาระหว่างสูบบุหรี่ ก่อนที่บุคคลที่มีลักษณะเหมือนสมาชิกจากกลุ่มกวางตุ้งจะขึ้นรถ และขับออกไป
รายงานเสริมว่า สถิติล่าสุดพบว่า นักปกป้องสิทธิชาวจีนร่วมงานกับยูเอ็นในจำนวนต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ สวนทางกับจำนวนขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรของจีน ซึ่งจดทะเบียนกับยูเอ็นเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ตั้งแต่ปี 2561
เครดิตภาพ : AFP
…
ที่มา : เดลินิวส์ / วันที่เผยแพร่ 29 เมษายน 2568
Link : https://www.dailynews.co.th/news/4657349/