ถือเป็นกระแสที่กำลังมาแรงและมีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อ ChatGPT โปรแกรม GenAI ชื่อดังตัวท็อประดับโลก
ได้เปิดการใช้เครื่องมือ “Ghibli Effect”… ถือเป็นกระแสที่กำลังมาแรงและมีการพูดถึงกันอย่างแพร่หลายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
เมื่อ ChatGPT โปรแกรม GenAI ชื่อดังตัวท็อประดับโลก ได้เปิดการใช้เครื่องมือ “Ghibli Effect” ที่ผู้ใช้งานสามารถ สร้างรูปภาพ
ในสไตล์ สตูดิโอจิบลิ (Studio Ghibli) ADVERTISEMENT
ที่เป็นผู้ผลิตอนิเมชั่นชื่อดังระดับโลกของญี่ปุ่นที่มีลายเส้นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นเจ้าของภาพยนตร์อนิเมชั่นชื่อดังอย่าง Spirited Away
และ My Neighbor Totoro ที่มีแฟนทั่วโลก และ คนไทยคุ้นเคยกันดี
ซึ่งการเปิดให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน Ghibli Effect เพื่อใช้ Gen ภาพ ตัวการ์ตูนในสไตล์ Studio Ghibli ได้ทำให้ ผู้ใช้งาน ChatGPT พุ่งสูงสุดในปีนี้
ทาง “แซม อัลต์แมน” ซีอีโอของ OpenAI ถึงกับได้โพสต์ลงบน เอ็กซ์ หรือ ทวิตเตอร์เดิม ระบุว่า ยอดผู้ใช้ ChatGPT
ได้เพิ่มขึ้นถึง หนึ่งล้านคนในชั่วโมง เมื่อเทียบกับการเปิดตัวเมื่อประมาณสองปีก่อน ที่ต้องใช้เวลา 5 วันหลังเปิดตัวจนมีผู้ใช้ถึง 1 ล้านคน
ภาพ pixabay.com
เครื่องมือ Ghibli Effect ยังช่วยให้มีผู้ใช้งาน ChatGPT ทะลุ 150 ล้านครั้ง เป็นครั้งแรกในปีนี้ มากขนาดทำให้ เซิร์ฟเวอร์ทำงานหนักเกินไป จนต้องจํากัดการใช้งานฟีเจอร์ชั่วคราว
และล่าสุดทาง ซีอีโอของ OpenAI ได้ออกมาระบุผ่านการโพสต์ลง เอ็กซ์ ยืนยันว่า ผู้ใช้งานในเวอร์ชั่นฟรี จะสร้าง GEN หรือสร้างภาพสไตล์ Ghibli ได้แล้ว แต่มีการจำกัด สูงสุด 3 ภาพต่อวัน หากเกินจำนวน จะมีข้อความแจ้งเตือนให้อัปเกรดเป็นสมาชิกแบบเสียเงิน
ถือเป็นข่าวดีที่คนใช้งานแบบฟรี จะได้ทดลองเล่นกันกัน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เครื่องมือ หรือ ฟีเจอร์นี้ จะเปิดให้ผู้ใช้ ChatGPT Plus, Pro และ Team ได้ใช้งานเท่านั้น
เครื่องมือ Ghibli Effect นี้ช่วยให้ใครๆ ที่เป็นผู้ใช้งาน GPT-4o Image Generation ของ ChatGPT สามารถ สร้างรูปภาพ ในสไตล์ ที่เป็นผู้ผลิตอนิเมชั่นชื่อดังระดับโลกของญี่ปุ่นได้โดยการเจนรูปภาพตามคำสั่ง (Prompt) ของผู้ใช้งานได้แบบละเอียด และซับซ้อนมากขึ้น หรือแม้แต่การเปลี่ยนรูปถ่ายปกติให้กลายเป็นการ์ตูนสไตล์ Ghibli ก็ทำได้ จนกลายเป็นกระแสฮิตระดับโลกไปแล้ว
ภาพ pixabay.com
อย่างไรก็ตาม แม้กระแสดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมไปทั่วโลก แล้วมีข้อถกเถียงในเรื่องลิขสิทธิ์ แต่ในมุมมองเรื่องความปลอดภัยด้านไซเบอร์ หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน
โดยทาง “วลาดิสลาฟ ทุชคานอฟ” ผู้จัดการกลุ่ม Kaspersky AI Technology Research Center บริษัทด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ระดับโลก ก็ออกมาระบุว่า กระแสไวรัลกรณีรูปภาพที่สร้างโดย AI ว่า การถ่ายโอนสไตล์ (Style transfer) หรือการใช้ฟิลเตอร์สไตล์กับรูปภาพนั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีอายุหลายสิบปี แต่ด้วยโมเดลภาษาภาพแบบมัลติโหมด
เช่น gpt-4o ของ OpenAI ทำให้เทคโนโลยีนี้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง
นับตั้งแต่แอปการถ่ายโอนสไตล์ เช่น Prisma หรือ Vinci ได้รับความนิยมจากการเป็นแอปมือถือที่มีการประมวลผลบนคลาวด์โดยใช้นิวรัลเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เพราะโปรแกรมตัวช่วยในการสนทนาอย่าง ChatGPT มีรูปแบบเป็นการสนทนา (แชท) จึงอาจมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลความลับ
ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคาดว่าจะได้รับจากการติดต่อสื่อสารแบบส่วนตัว
อย่างไรก็ตาม การใช้ตัวช่วยเหล่านี้เพื่อการทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจ เช่น การสร้างภาพเหมือนที่มีสไตล์ ก็ไม่ต่างจากการใช้บริการออนไลน์อื่นๆ
วิธีการประมวลผลข้อมูลและสิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำได้ด้วยข้อมูลที่ผู้ใช้ให้มา มักจะระบุไว้ในนโยบายความเป็นส่วนตัวของโปรแกรม
“บริษัทต่างๆ ที่ก่อตั้งมายาวนานส่วนใหญ่จะรับประกันความปลอดภัยของข้อมูลที่บริษัทรวบรวมและจัดเก็บไว้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการป้องกันนั้นจะแน่นหนา เนื่องจากปัญหาทางเทคนิคหรือการกระทำที่เป็นอันตราย ข้อมูลอาจรั่วไหลและกลายเป็นข้อมูลสาธารณะ หรือนำไปขายในเว็บไซต์ใต้ดิน” วลาดิสลาฟ ทุชคานอฟ กล่าว
นอกจากนี้ บัญชีที่ใช้ในการเข้าถึงบริการอาจถูกละเมิดได้หากข้อมูลประจำตัวหรืออุปกรณ์ของผู้ใช้ถูกบุกรุก ผู้เชี่ยวชาญของ Kaspersky Digital Footprint Intelligence ระบุว่า มีโพสต์บนเว็บมืดและฟอรัมแฮกเกอร์จำนวนมากที่เสนอขายบัญชีผู้ใช้ที่ถูกขโมยเพื่อขายบริการ AI ซึ่งอาจมีประวัติการสนทนาส่วนตัวกับแชทบ็อตอยู่ด้วย
“รูปถ่ายโดยเฉพาะภาพบุคคลเป็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เนื่องจากรูปถ่ายสามารถให้ข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับผู้ใช้ที่อาชญากรไซเบอร์อาจนำไปใช้ได้ เช่น ใช้ปลอมตัวเป็นผู้ใช้บนโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม ภาพถ่ายเพียงอย่างเดียวไม่สามารถนำไปใช้ในการฉ้อโกงได้ จำเป็นต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับเหยื่อที่หลากหลายยิ่งขึ้น เช่น ข้อมูลส่วนตัว เอกสารต่างๆ ฯลฯ การใช้แชทบอทเพื่อพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องส่วนตัว เช่น การเงินหรือสุขภาพ อาจทำให้อาชญากรไซเบอร์มีอำนาจต่อรองในแผนการฉ้อโกง เช่น การหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ตที่มีเป้าหมายโจมตีชัดเจน หรือ spearphishing”
ทั้งนี้ ทาง “แคสเปอร์สกี้”ได้ แนะนำวิธีการสำหรับผู้ใช้งานแชทบอทเพื่อสร้างความปลอดภัยและปกป้องตัวเองดังนี้ 1.บัญชีบริการ AI ควรได้รับการปกป้องด้วยรหัสผ่านที่แข็งแกร่งและไม่ซ้ำใคร 2.ควรใช้การตรวจสอบสิทธิ์สองขั้นตอน 3.ใช้โซลูชันความปลอดภัยที่ครอบคลุม รวมถึงโปรแกรมจัดการรหัสผ่าน เพื่อปกป้องอุปกรณ์และบัญชีของผู้ใช้
4.เลือกใช้บริการแชทบอทที่ได้รับการยอมรับมากกว่าข้อเสนอพร็อกซีต่างๆ เพื่อลดจำนวนฝ่ายที่ประมวลผลข้อมูลของคุณ 5.ปฏิบัติต่อแชทบอทเสมือนคนแปลกหน้าบนอินเทอร์เน็ตเสมอ อย่าพูดคุยเรื่องส่วนตัวหรือแบ่งปันรายละเอียดที่เป็นความลับ ไม่ว่าจะเป็นของตัวเอง เพื่อนหรือญาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้รับความยินยอมจากบุคคลดังกล่าว และ 6.ระวังเว็บไซต์ฟิชชิงที่อาจรวบรวมข้อมูลประจำตัวและแพร่กระจายมัลแวร์
อย่างที่รู้กัน “GenAI” มีทั้งมุมให้คุณและโทษ และ “อาชญากรไซเบอร์” ก็จ้องใช้กระแสฮือฮาเกี่ยวกับ AI เพื่อหาประโยชน์ การใช้งานก็ต้องมีความตระหนักรู้ด้วย!?!
Cyber Daily
————————————————————————————————–
ที่มา : เดลินิวส์ / วันที่เผยแพร่ 5 เมษายน 2568
Link : https://www.dailynews.co.th/news/4575306/