พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาอยู่ตรงไหน

Loading

  ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เยือนไทยอย่างเป็นทางการในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2024 โดยวาระสำคัญคือการหารือกับ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชาที่เป็นปัญหาคาราคาซังมากว่า 50 ปี   ปมปัญหาจากข้อพิพาทนี้เริ่มขึ้นหลังจากที่กัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยเมื่อปี 2515 ก่อนที่ไทยจะประกาศในปี 2516 ซึ่งต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์ขีดเส้นล้ำเข้ามาทับเส้นของอีกฝ่าย ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันกว่า 26,000 ตารางกิโลเมตร เมื่อมีข้อพิพาทเกิดขึ้น จึงส่งผลต่อสิทธิสัมปทานที่ทั้งไทยกับกัมพูชาได้ให้กับบริษัทเอกชนด้านสำรวจและผลิตปิโตรเลียม จึงทำให้ยังไม่มีใครสามารถเข้าไปดำเนินกิจกรรมสำรวจและผลิตปิโตรเลียมได้   เนื้อที่ทางทะเลที่มีข้อพิพาทนี้มีการประเมินกันว่า มีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองขนาดใหญ่ไม่แพ้แหล่งในอ่าวไทย หากเจรจาสำเร็จ ไทยจะสามารถจัดหาแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูก หรือสามารถนำมาช่วยทดแทนปริมาณก๊าซในอ่าวไทยได้ในอนาคตอีกด้วย     ภาพประกอบ: นิสากร ฤทธาภัย บทความโดย  ปัทมาสน์ ชนะรัชชรักษ์       ——————————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

เปิดโปรไฟล์ ฮุน มาเนต ก่อนเยือนไทย คุยประเด็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล

Loading

  ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เตรียมเดินทางเยือนไทยในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2024 เพื่อหารือกับ เศรษฐา ทวีสิน เกี่ยวกับการค้าข้ามพรมแดน รวมถึงวาระสำคัญอย่างเรื่องของพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่ไทยและกัมพูชามีข้อพิพาทกันมายาวนานกว่า 50 ปี   THE STANDARD พาไปทำความรู้จักกับผู้นำคนล่าสุดของกัมพูชา บุตรชายคนแรกของ ฮุน เซน กันให้มากขึ้น   หนุ่มนักเรียนนอก ฮุน มาเนต เกิดเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 1977 เป็นบุตรชายคนแรกของ ฮุน เซน อดีตผู้นำกัมพูชาที่ปกครองประเทศมาเกือบ 40 ปี   ฮุน เซน ปูเส้นทางชีวิตให้ ฮุน มาเนต มาอย่างดี เขามีประวัติทั้งด้านการศึกษาและเส้นทางอาชีพที่เพียบพร้อมตั้งแต่วัยเยาว์จนเติบใหญ่ ชายผู้นี้เติบโตและได้รับการศึกษาในกรุงพนมเปญ ก่อนเข้ารับราชการในกองทัพกัมพูชาในปี 1995 ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเขาได้เข้าโรงเรียนทหารสหรัฐอเมริกาที่เวสต์พอยต์ และเป็นชาวกัมพูชาคนแรกที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้   ส่วนทางด้านวิชาการ ฮุน มาเนต จบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก…

โดรนสหรัฐฯ ปลิดชีพแกนนำคาตาอิบ ล้างแค้นเหตุโจมตีฐานจอร์แดน

Loading

กองบัญชาการกลางกองทัพสหรัฐฯ (CENTCOM) เปิดเผยว่า ได้ส่งโดรนสังหาร อาบู บาเคียร์ อัล-ซาดี แกนนำอาวุโสระดับบัญชาการของกลุุ่มคาตาอิบฮิซบอลเลาะห์ (Kataib Hezbollah) ซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธในอิรักที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน

รุมยิง “จ่าตำรวจรือเสาะ” แก๊งเดียวกับทีมฆ่า “แวอาลีคอปเตอร์”

Loading

เหตุรุนแรงที่ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ช่วงค่ำคืนของวันอังคารที่ 6 ก.พ.67 ซึ่งเป็นวันแรกของการนัดพูดคุยสันติสุขรอบใหม่ ระหว่างคณะพูดคุยฯของรัฐบาลไทย กับฝ่ายบีอาร์เอ็นนั้น มีรายละเอียดที่น่าตระหนกมากกว่าที่เป็นข่าวเบื้องต้นหลังเกิดเหตุ

ระเบิด 2 ครั้งสนั่นปากีสถานก่อนวันเลือกตั้ง ดับ 28 ศพ เจ็บอีกหลายสิบ

Loading

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เกิดระเบิด 2 ครั้งใกล้สำนักงานผู้สมัครเลือกตั้งในจังหวัดบาลูจิสถาน เมื่อวันพุธที่ 7 ก.พ. 2567 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 28 ศพ บาดเจ็บอีกหลายสิบราย เพียง 1 วันก่อนที่การเลือกตั้งครั้งสำคัญของประเทศจะเริ่มต้นขึ้น

“พูดคุยสันติสุข” จบลงด้วยดี 3 ฝ่าย เห็นชอบ 3 หลักการ ร่วมสร้างสันติสุขแบบองค์รวม

Loading

  วง “พูดคุยสันติสุข” จบลงด้วยดี ทั้ง 3 ฝ่าย เห็นชอบ 3 หลักกการร่วมสร้างสันติสุขแบบองค์รวม เตรียมพูดคุยระดับเทคนิคในพื้นที่ก.พ.-มี.ค.นี้ พร้อมแนะลดปิดล้อมตรวจค้น ตั้งด่านตรวจ และยกเลิกจับกุมแกนนำก่อความไม่สงบ ขณะที่บีอาร์เอ็นห่วงกรณีดำเนินคดีแกนนำภาคใต้   วันนี้ (7 ก.พ.2567) ภายหลังการพูดคุยสันติสุข 2 วันของหัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายไทย และบีอาร์เอ็น ในที่สุดทั้งสองฝ่ายก็เห็นชอบใน 3 หลักการ ตามแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติสุขแบบองค์รวม หรือ JCPP คือ การลดความรุนแรง การปรึกษาหารือกับประชาชน และการแสวงหาทางออกทางการเมือง   โดยสองฝ่ายตกลงกันว่า จะมีการหารือในรายละเอียด ระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับเทคนิคร่วมกันอีก 2 ครั้ง ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ และต้นเดือนมีนาคม ก่อนที่จะรับรองอย่างเป็นทางการในโอกาสต่อไป ซึ่งจะนำไปสู่การบรรลุข้อตกลงสันติเพื่อประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้   นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังเห็นด้วยในการสร้างบรรยากาศ ให้เอื้อต่อการพูดคุยสันติสุขให้มากขึ้น โดยฝ่ายไทยได้เสนอแนวทาง เช่น การลดระดับการปิดล้อมตรวจค้นที่ จะทำเท่าที่จำเป็นเท่านั้น   การปรับลดปริมาณด่านตรวจลง โดยเฉพาะบริเวณหน้าฐานปฏิบัติการ แต่ในพื้นที่อื่น…